ภาษาอีสาน: นำ

ครั้งที่แล้วพูดถึงการแปรเปลี่ยนของคำภาษาเก่า จากภาษาพูดธรรมดากลายเป็นภาษาเขียนบ้าง หรือกลายเป็นคำซ้อนบ้าง แต่คำว่า "นำ" นี้ ดูเหมือนความหมายจะตรงกันข้ามไปเลย

"นำ" ในภาษาอีสาน แปลว่า "ตาม" หรือ "ด้วย" เช่น ถ้างัวหายก็ต้องไป "นำหา" ไม่ใช่ "ตามหา" (ยังพบในภาษากลางคือคำว่า "นำจับ" ผู้ร้าย?) ใครที่ "ย่างนำไป" จะหมายถึงเดินอยู่ข้างหลัง หรือถ้า "ย่างนำก้น" นี่ ก็หมายถึงเดินตามไปติดๆ และอีกความหมายคือ "ด้วย" เช่น "ไปนำกัน" หมายถึง "ไปด้วยกัน" หรือถ้าพูดว่า "ไปนำแหน่" คือ "ขอไปด้วยคน"

ส่วนคำว่า "นำ" ในภาษากลางนั้น ภาษาอีสานใช้คำไหนผมไม่แน่ใจเหมือนกัน อาจจะใช้ "ย่างขึ้นหน้า" หมายถึง "เดินนำหน้า" อะไรทำนองนี้? (เพื่อนอีสานช่วยนึกหน่อย)

ความคิดเห็น

bact' กล่าวว่า
แบบนี้ ผู้ตาม จากภาคกลาง
ก็เป็น ผู้นำ ที่ภาคอีสานได้สิ ?

-_-"
Thep กล่าวว่า
อาจจะอย่างนั้นครับ ทำนองเดียวกับคำว่า "แพ้" ในภาษาเก่า แปลว่า "ชนะ" หรือ "ปราบ" (คำว่า "ชนะ" ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่มาจากคำบาลี-สันสกฤตว่า "ชินะ") ส่วนคำในภาษาเก่าที่มีความหมายว่า "แพ้" คือคำว่า "พ่าย" (เช่น "ตนกูพู่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง")
bact' กล่าวว่า
อ่า ชื่อเขตบ้านผมเลย (จริงๆ คือชื่อป้อมเก่า)

"ป้อมปราบศัตรูพ่าย"
Unknown กล่าวว่า
ยังไม่ได้พูดถึงคำที่จะใช้ในความหมายว่า "นำ" ในภาษาอีสาน เพราะนึกไปนึกมาก็เริ่มจะงงๆ ...แต่จะพูดถึงในกรณีคำที่มีหมายหมายเปลี่ยนไปตรงข้ามจากเดิม ได้อ่านเจอถึงกรณีที่เขาพูดถึงคำที่มีความหมายตรงข้ามกับปัจจุบัน แต่เป็นกรณีพิเศษคือความหมายของคำนั้นๆ เปลี่ยนแปลงเฉพาะในภาษาไทยกรุงเทพ และบางถิ่น แต่บางถิ่นยังคงความหมายเดิม ก็ยังติดใจอยู่ยังไม่ได้ถามเจ้าของภาษาถิ่นว่าเป็นเช่นนั้นหรือไม่
อย่างเช่น ในตำราประกอบการสอนเรื่องวิวัฒนาการของภาษาไทย ของ ร.ศ.ดร.ราตรี ธันวารชร พูดถึงคำว่า "แพ้" สรุปได้ว่า แม้ปัจจุบันคำว่า "แพ้" แต่เดิมแปลว่า "ชนะ" และเปลี่ยนแปลงความหมายไปในปัจจุบัน แต่ในบางท้องถิ่นยังมีความหมายเดิมที่แปลว่า "ชนะ" เช่น ในภาษาเชียงใหม่ ภาษาไทยลื้อ ภาษาไทยดำ และภาษาไทยขาว
คำว่า "แกล้ง" ในปัจจุบันใช้ในความหมาย "จงใจ แต่แบบไม่จริงใจ" เช่น "นายเสกสรรค์แกล้งทำเป็นกลัวภรรยา" แสดงว่านายเสกสรรค์ไม่ได้กลัวจริง แต่ในสมัยสุโขทัยจะหมายถึง "จงใจอย่างจริงใจ" ดังเช่นข้อความว่า
"เบื้องตวันโอกเมืองสุโขทัยนี้มีพีหาร มีปู่ครู มีทเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่มีนา มีถิ่นถ้าน มีบ้านใหญ่บ้านเลก มีป่าม่วง มีป่าขาม ดูงามฎั่งแกล้งแฏ่ง" (จารึกหลักที่ ๑)
ถึงแม้ความหมายของคำนี้ในหลายๆ ที่จะเปลี่ยนไปจากเดิม แต่ในภาษาถิ่นใต้ ยังใช้ในความหมายเดิมว่า "จงใจ หรือตั้งใจ"
ไม่รู้ว่าความหมายของคำว่า "แพ้" ในภาษาเชียงใหม่ และความหมายของคำว่า "แกล้ง" ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะยังคงความหมายแบบเดิมตามที่เขาบอกหรือไม่
Unknown กล่าวว่า
นำ มีความหมายว่า ตาม เช่น นำหา(ตามหา) นำมา/นำก้นมา(ตามมา) นำไป/นำก้นไป(ตามไป)
ไผ๋สิโทนนำหา(ใครจะตามหาไหว)
มึงสินำกูมาหยัง(มึงจะตามกูมาทำไม)
จักหน่อยนำก้นมาเด้อ(อีกหน่อยตามมานะ)
ราคาอยู่นำป้ายนั่น/หั่นหล่ะ,ราคานำป้ายเลย,ราคาเบิ่งนำป้ายโลด(ราคาอยู่ตามป้ายเลย,ราคาตามป้ายเลย)
ย่างไวเอาฮ้ายไผ๋สิย่างนำมึงทัน(เดินเร็วขนาดนี้ใครจะตามทัน)
เฮ็ดนำอั่นเขาบอกโลด(ทำตามที่เขาบอกเลย)
Unknown กล่าวว่า
ถ้าเป็นตามเฉยๆหรือโดดๆหรือเเสดงให้เห็นว่าจะตามเเบบชัดๆนิยมใช้"นำก้น"
เห็นบัก1ย่างไปนำบัก2(เห็นไอ้1เดินไปตามไอ้2)
เห็นบัก1ย่างไปนำก้นบัก2

ตามนั้น=ไม่มี
ตามนี้=ไม่มี
ตามตรง=ไม่มี
ตามจริง=(อั่นว่าอิหลีเเล้ว)
ตามที่คุยกันไว้เลย(...คืออั่นเฮาเว่ากันไว้หั่น/นั่นล่ะ/โลด,...นำอั่นเฮาเว่ากันไว้หั่น/นั่นล่ะ/โลด),เ
ทำตามที่คุยกันไว้เลย(เฮ็ดคืออั่นเฮาเว่ากันไว้เลย/นั่นเเหมะ,เฮ็ดนำอั่นเฮาเว่ากันไว้เลย/นั่นเเหมะ)
ตามที่คุยกันไว้นะ(...คืออั่นเฮาเว่่ากันไว้เด้อ,...นำอั่นเฮาเว่ากันไว้เด้อ)
ตามนี้ใช่ปะ(...คืออั่นนี้เเม่นบ่,...นำอั่นนี้เเม่นบ่)
ตามนี้เลยนะ(...คืออั่นนี้เลยเด้อ,...นำอั่นนี้เลยเด้อ)

ลักษณะประโยคส่วนมากไม่นิยมขึ้นด้วยคำว่า ตาม
ผู้เขียนจึงได้เเทน"..."เป็นคำนำหน้า เช่น ทำ กิน นำมาใส่"..." เพราะขึ้นกับสถานการณ์ที่ได้คุยกันก่อนหน้านี้
เช่น คุยกันเรื่องไปเที่ยวเเล้วคุยกันว่าจะทำอะไรบ้าง พอตกลงกันเสร็จ ก็พูดขึ้นว่า ตามที่คุยกันไว้เลยนะ ภาษาลาวจะใช้"เฮ็ดคืออั่นเฮาเว่ากันไว้เลยเด้อ,เฮ็ดนำอั่นเฮาไว้เลยเด้อ)

เเต่ใช้ได้บางกรณี เช่น 1ไปกับ2 3ไปกับ4 ตามนี้นะ ประโยคเเบบนี้ จะใช้ จั่งซี้น้อ เเทน ตามนี้นะ

คำว่า นำ ที่เเปลว่า ตาม จะไม่เอามาขึ้นนำหน้าประโยคเหมือนภาษาไทย เเต่จะนิยม"เฮ็ดคือ...,เฮ็ดนำ..."
Unknown กล่าวว่า
จะใช้"ผุนำก้น" ความหมายคือ ผู้ตาม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาใต้ : คำสรรพนามที่รู้จัก..

รวมมิตร: สัตว์จตุบาท

ภาษาใต้: หมัน...