ภาษาอีสาน: ขิว

กลิ่นที่แหลมเสียดจมูก และอาการถูกกระทบกระทั่งทางจิตใจที่ทำให้ขัดเคือง ไม่พอใจ ที่ภาษากลางเรียกว่า "ฉุน" นั้น คำอีสานใช้คำว่า "ขิว"

ขิว ว. (กลิ่น) ฉุน, ก. โกรธเคือง, ไม่พอใจ.

และเนื่องจากเสียง ข ไข่ ในบางถิ่น จะออกเป็นเสียงกล้ำระหว่าง ข ไข่ กับ ฉ ฉิ่ง ซึ่งเสียง ฉ ฉิ่ง จะเด่นกว่า จึงอาจจะได้ยินเป็น "ฉิว" บ้าง (แถวบ้านที่ขอนแก่น ได้ยินแต่ "ฉิว" มาตลอด แถมอารมณ์มันคล้าย "ฉุน" เสียด้วย เพิ่งมาเรียนรู้ว่าจริงๆ เขียนว่า "ขิว" ก็ตอนที่อ่านหนังสือพื้นบ้าน และตอนที่เริ่มได้ยินสำเนียงต่างถิ่นมากขึ้นนี่เอง)

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
มันอาจจะเป็นที่มาของคำว่า ฉุนเฉียว ก็ได้นะคะเนี่ยเพราะคำไทยส่วนใหญ่จะมีมากที่เล่นคำซ้ำคำซ้อน และคำซ้ำคำซ้อนส่วนใหญ่จะเกิดจากคำที่มาจากภาษาต่างถิ่น แต่มีความหมายคล้ายกัน ฉุนเฉียว อาจมาจาก ฉุนฉิว แล้วเพี้ยนๆ มา อันนี้คิดเล่นๆ นะคะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาใต้ : คำสรรพนามที่รู้จัก..

รวมมิตร: สัตว์จตุบาท

ภาษาใต้: หมัน...