ภาษาอีสาน: ดุ, ฮ้าย

เห็นภาษาใต้คำล่าสุดแล้ว นึกถึงคำอีสานคำหนึ่ง:

ดุ ว. บ่อย.

ตัวอย่างเช่น "อย่าเว้าดุหลาย" ก็หมายถึง 'อย่าพูดบ่อยนักสิ' หรือ 'อย่าพูดมาก' นั่นเอง "มาย่ามกันดุๆ เด้อ" ก็หมายถึง 'มาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ' เป็นต้น

ที่ว่านึกถึงคำนี้ก็เพราะ ในภาษาลาวเดิมนั้น "ดุ" แปลว่า 'ขยัน' ด้วย เช่น "คนดุ" จะหมายถึง 'คนขยัน' แต่ถ้าจะสื่อความว่า 'ครูคนนี้ดุ(ร้าย)จัง' ก็จะใช้คำว่า "ฮ้าย" (ร้าย) เช่น "ครูผู้นี้คือฮ้ายแท้"

แต่ในภาษาอีสานปัจจุบัน ไม่ค่อยพบการใช้คำว่า "ดุ" ในความหมาย 'ขยัน' แล้ว แต่จะใช้ "ขยัน" ทับศัพท์ภาษากลางไปเลย แต่ในประเทศลาว ยังคงใช้ความหมาย 'ขยัน' อยู่

อย่างไรก็ดี เนื่องจากยังมีการใช้คำว่า "ดุ" ในความหมายว่า 'บ่อย' อยู่ จึงไม่มีการทับศัพท์คำว่า 'ดุ(ร้าย)' จากภาษากลาง แต่จะใช้คำว่า "ฮ้าย" แทน เหมือนในประเทศลาว

ฮ้าย ก. โกรธ; ว. ดุ, ร้าย.

เช่น "ไปเว้าบ่ดี เลาเลยฮ้ายใส่" (ไปพูดไม่ดี แกเลยโกรธใส่)

นอกจากนี้ คำว่า "ฮ้าย" ยังใช้ในคำว่า "ผู้ฮ้าย" อีกด้วย โดยความหมายไม่ใช่ 'ดุ' แต่ "ผู้ฮ้าย" นั้น แปลว่า 'ขี้เหร่' หรือ 'อัปลักษณ์'

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ถ้าเป็นภาษาพูด จะพูดว่า ดู๋
แปลว่า ขยัน หมั่นเพยร ซึ่งมักใช้กับคนที่ ขยันขัยแข็ง
หนักเอาเบาสู้

นราธิป คำโสภา pexaj not sign in
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอให้แก้ไขนะครับ คำว่า "ดุ" ในภาษาอิสานจะเป็นคำกริยาแปลว่าการดุน ดัน แต่จะใช้กับการเอาตัวเข้าไป ดุน ดัน เพื่อ ที่จะไปข้างหน้า แต่คำที่มีความหมายว่า บ่อย หรือขยันนั้น ออกเสียงว่า "ดู๋" นะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาใต้ : คำสรรพนามที่รู้จัก..

รวมมิตร: สัตว์จตุบาท

ภาษาใต้: หมัน...