บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2548

ภาษาใต้: ตาอยาก...

ตายาก: (น., ก.) อยากได้ โลภ (ใช้ในกรณี ว่ากล่าว หรือ ตักเตือน) ตัวอย่าง: เห็นของของเพื่อนไม่ได้เลยนิ ตาอยากเอาปรือ คำแปล: เห็นของของเพื่อนไม่ได้เลยน่า โภลอยากได้จังเลย (แปลยากจัง) คำๆนี้ใช้ในแง่ลบซ่ะเป็นส่วนใหญ่ ทำให้รู้สึกอายเมื่อโดนว่า

ภาษาใต้: ขาดหุ้น

ภาษาใต้วันนี้เสนอคำว่า "ขาดหุ้น" คำคำนี้ปกติไม่พูดกันครับนอกจากเวลาที่ใช้ว่าคนอื่น ความหมายจะเหมือนกันกับคำว่า "ไม่เต็มบาท" คือลักษณ์ที่ไม่ค่อยรู้เรื่อง ถ้าหนักหน่อยก็จะเป็นไม่สมประกอบ ตัวอย่างเช่น "สาวนุ้ยมึงยาขาดหุ้นนักแรงไปกับบาวๆ ทุกวัน ..." ความหมายประมาณว่า "ไปกับหนุ่มๆ ทุกวันช่างไม่รู้กะไรซะจริงๆ" (แปลยากจัง) คำว่าขาดหุ้นน่าจะมาคำว่า ขาดหุน หน่วยวัดความยาว หรือ ขนาดนี่แหละครับ เช่น น๊อต 1 หุน

ภาษาอีสาน: ดุ, ฮ้าย

เห็นภาษาใต้คำล่าสุดแล้ว นึกถึงคำอีสานคำหนึ่ง: ดุ ว. บ่อย. ตัวอย่างเช่น "อย่าเว้าดุหลาย" ก็หมายถึง 'อย่าพูดบ่อยนักสิ' หรือ 'อย่าพูดมาก' นั่นเอง "มาย่ามกันดุๆ เด้อ" ก็หมายถึง 'มาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ' เป็นต้น ที่ว่านึกถึงคำนี้ก็เพราะ ในภาษาลาวเดิมนั้น "ดุ" แปลว่า 'ขยัน' ด้วย เช่น "คนดุ" จะหมายถึง 'คนขยัน' แต่ถ้าจะสื่อความว่า 'ครูคนนี้ดุ(ร้าย)จัง' ก็จะใช้คำว่า "ฮ้าย" (ร้าย) เช่น "ครูผู้นี้คือฮ้ายแท้" แต่ในภาษาอีสานปัจจุบัน ไม่ค่อยพบการใช้คำว่า "ดุ" ในความหมาย 'ขยัน' แล้ว แต่จะใช้ "ขยัน" ทับศัพท์ภาษากลางไปเลย แต่ในประเทศลาว ยังคงใช้ความหมาย 'ขยัน' อยู่ อย่างไรก็ดี เนื่องจากยังมีการใช้คำว่า "ดุ" ในความหมายว่า 'บ่อย' อยู่ จึงไม่มีการทับศัพท์คำว่า 'ดุ(ร้าย)' จากภาษากลาง แต่จะใช้คำว่า "ฮ้าย" แทน เหมือนในประเทศลาว ฮ้าย ก. โกรธ; ว. ดุ, ร้าย. เช่น "ไปเว้าบ่ดี เลาเลยฮ้ายใส่" (ไปพูดไม่ดี แกเลยโกรธใส่)

ภาษาใต้: หมัน...

หมัน: (ก.) ขยัน, (ว.)ไม่มีลูก ตัวอย่าง: หมันอิตายนิ ไปทำหร้ายแต่หัวเช้า อ่านว่า: หมัน อิ ตาย นิ ไป ทำ หร้าย แต่ หัว เช้า คำแปล: ขยันจังน่ะทำไปไร่แต่เช้า หมัน: (ว.) ใช่ ตัวอย่าง: มึ๊งว่าหมันบ่าวดำม้ายแรกเดียว อ่านว่า: มึ๊ง ว่า หมัน บ่าว ดำ ม้าย แรก เดียว คำแปล: นายว่าใช่พี่ดำรึป่าวเมื่อตะกี้ อ้างอิงภาษาจาก ต.คลองพน อ.คลองท่อม จ.กระบี่ แก้มา สี่ ห้า ครั้งแล้วเขียนตกเขียนหล่นไปเรื่อย สะกดคำอ่าน คำพูดจากถิ่นใต้เป็นถิ่นกลาง ลำบากเหมือนกัน ไม่่ค่อยได้ดังใจ