บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2548

ภาษากลาง: วสันต์

น่าแปลกเหมือนกัน ที่คำว่า "วสันต์" มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการวรรณกรรม ในความหมายว่า "ฤดูฝน" ทั้งที่ความหมายที่แท้จริงนั้น หมายถึง "ฤดูใบไม้ผลิ" วสันต์ น. ฤดูใบไม้ผลิในคำว่า ฤดูวสันต์, วสันตฤดู ก็ว่า. ด้วยความเอียงของแกนโลกประมาณ ๓๓.๕ องศาจากแนวตั้งฉากกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้โลกมีสภาพเหมือนไก่ย่างที่หมุนกลิ้งไปรอบๆ กองไฟคือดวงอาทิตย์ เหมือนไก่ย่างเวียนหัวตามร้านข้างทาง แต่โลกจะเอียงแกนไปด้านหนึ่งด้วย ทำให้ในตำแหน่งหนึ่ง ไก่ย่างชิ้นนี้หันด้านหัวเข้าหากองไฟ ในขณะที่ในอีกตำแหน่งหนึ่ง หันด้านก้นเข้าหากองไฟ ทำให้โลกร้อนหัวเย็นก้นบ้าง สลับกับร้อนก้นเย็นหัวบ้าง เป็นคาบๆ ไป เกิดเป็นฤดูกาลในบริเวณต่างๆ ของโลก ตำแหน่งที่โลกหันหัว (ขั้วโลกเหนือ) เข้าหาดวงอาทิตย์ตรงที่สุดนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนเต็มที่ และมีเวลากลางวันยาวนานที่สุด (ในบริเวณเหนือละติจูด ๖๖.๕ องศาเหนือขึ้นไป พระอาทิตย์จะไม่ตกดิน) เรียกว่า "ครีษมายัน" [คฺรีด-สะ-มา-ยัน] (Summer Solstice) แปลว่า การมาถึงของฤดูร้อน ตรงกับประมาณวันที่ ๒๒ มิถุนายน และเรียกฤดูนี้ว่า "คิ

ภาษาอีสาน: ไหง่

อากาศร้อนๆ แห้งๆ อย่างนี้ รถวิ่งทีฝุ่นตลบอบอวล แม่บ้านต้องกวาดบ้านวันละหลายรอบ "คือมาไหง่แท้หนอ" คือคำบ่นสำหรับยามนี้ ไหง่ น. ฝุ่น; ว. เต็มไปด้วยฝุ่น. กล่าวคือ คำนี้เป็นได้ทั้งนามและวิเศษณ์ เช่น "เฮือนบ่ปัดบ่กวาด ไหง่เต็มอื้อปื้อ" หมายถึง ไม่กวาดบ้านกวาดช่อง ฝุ่นจับหนาเขรอะ "อย่ากวาดแฮงหลาย มันไหง่.." แปลว่า อย่ากวาดแรงนักสิ ฝุ่นมันคลุ้ง

ภาษากลาง: ชันษา, พรรษา

คำว่า "ชันษา" เป็นคำที่มักพบเห็นการใช้ที่ไม่ตรงความหมายบ่อยๆ เช่น เมื่อพูดถึงพระชนมายุเจ้านาย ก็ไปใช้เป็นหน่วยนับ เช่น พระชนมายุ ๑๖ ชันษา ทั้งที่ความจริงแล้ว ความหมายของ "ชันษา" คือ: ชันษา [ชันนะสา] น. อายุ. (ย่อมาจาก ชนมพรรษา). กล่าวคือ ชันษา เป็นสามานยนามหมายถึงอายุ ไม่ใช่ลักษณนามนับอายุ อาจจะใช้ได้ในวลี "เจริญพระชันษา" หรือ "เมื่อพระชันษาได้ ๑๖ พรรษา" เป็นต้น ส่วนราชาศัพท์ลักษณนามนับอายุนั้น ใช้คำว่า "พรรษา" ซึ่งแปลตามรากศัพท์ว่า ฤดูฝน แต่เอามาใช้นับอายุเป็นปี ดังนั้น "๑๘ พรรษา" กับ "๑๘ ฝน" จึงเป็นการใช้คำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหมายถึงการผ่านฤดูฝนมา ๑๘ ครั้ง ก็หมายถึงอายุ "๑๘ ปี" นั่นเอง