บทความ

รบ..

คำที่เจ็ด (ขอเป็นคำสุดท้ายละ) ในเพลง "โจใจ" คือคำว่า "รบ" หลายคนได้ยินคำว่ารบแล้วมักจะนึกว่าเป็นเรื่องใหญ่โต แต่คนใต้คำว่ารบนี่ใช้ได้ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบจริงๆ ความหมายของคำว่ารบจะครอบคลุมดังนี้ กวน, ทะเลาะ และ รบรา (สงคราม) ตัวอย่าง ผัวฉานมันรบทั้งคืนไม่ได้หลับได้นอนนิ๊ : สามีของฉันกวนทั้งคืนไม่ได้หลับได้นอน ถ้าไม่ห้ามไว้นะได้รบกับบาวนั้นแม่น : ถ้าไม่ห้ามไว้คงได้ต่อยกับหนุ่มคนนั้นแน่ๆ เป็นพี่น้องกันอย่ารบกัน : เป็นพี่น้องกันอย่าทะเลาะกัน

แลท่า..

คำที่หกในเพลง "โจใจ" คือคำว่า "แลท่า" คำว่า "แลท่า" แปลยากเหมือนกันความรู้สึกลึกๆ มันเข้าใจแต่พอให้ความหมายเป็นภาษากลางนี่ในก็ยากอยู่เหมือนกัน สรุปได้ว่าคำคำนี้หมายความว่า "ท่าทาง,ส่อเค้า และ สงสัย (อาจมีอีก)" ตัวอย่าง: แลท่าบาวนั้นจะเล่นยา : ท่าทางหนุ่มคนนั้นจะติดยา แลท่าฝนจะตกหนัก : สงสัยฝนจะตกหนัก แลท่าการเลือกตั้งจะโมฆะ : ส่อเค้าว่าการเลือกตั้งจะโมฆะ

ดายของ

คำที่สี่ ในเพลง "โจใจ" คือคำว่า "ดายของ" คำว่าดายของแปลตรงก็คือเสียดายนั้นเอง ตัวอย่าง ฮาย...แลกวาไปเห็นสาวคนนั้นสวยได้แรงแต่ดายของมีผัวเสียแล้ว!! แปล เฮ้อ...เมื่อวานไปเจอสาวคนหนึ่งสวยมากแต่เสียดายมีสามีเสียแล้ว!!

หา...

คำที่สามในเพลง " โจใจ " คือคำที่นำหน้าด้วยคำว่า หา... คำว่า หา.. นำหน้าคำไหนคำนั้นจะเป็นการปฏิเสธ พูดง่ายๆ ก็จะกลายเป็น ไม่... นั้นเอง ตัวอย่าง หายอม : ไม่ยอม หาใช่ : ไม่ใช่ หานอน : ไม่นอน บางถิ่นจะใช้คำว่า หมา หรือ ไหม้ เช่น หายอม : หมายอม , ไหม้ยอม หาใช่ : หมาใช่, ไหม้ยอม หานอน : หมานอน, ไหม้นอน

หมึงสา

อีกคำหนึ่งในเพลง "โจใจ" คือคำว่า " หมึงสา " หมึงสา เป็นคำลงท้ายประโยคความหมายประมาณว่า สงสัยจะ .... มั้ง (แปลยากอีกแล้ว) มั้งมีก็ได้ไม่มีก็ได้ ตัวอย่าง พ่อ: แม่ลูกไขไปไหนอะไม่เห็นตั้งแต่หัวหวางแล้ว แม่: ไปบ้านดอนกับเพื่อนหมึงสา แปล พ่อ: แม่ลูกหายไปไหนเหรอไม่เห็นตั้งแต่เช้ามืดแล้ว แม่: สงสัยจะไปบ้านดอนกับเพื่อนมั้ง หมายเหตุ: หัวหวาง (หัวหว่าง) หัวรุ่ง ไก่ขัน อาจจะพูดต่างกันบ้างในบางถื่นแต่ความหมายเหมือนกัน คือ เช้ามืด

พลก

หายไปนานเลยสำหรับการ update คำศัพท์เมื่อสองวันก่อนได้ซื้อ CD เพลงชุดใหม่ของมาลีฮวนน่ามาและมีเพลงหนึ่ง ชื่อเพลง "โจใจ" ก็ทำให้นึกถึงกระทู้ใน LTN ที่ Post ถามผมเรื่องโจวันนี้เลยมาเขียนศัพท์ที่มีในเพลงสักหน่อย แล้วจะเอาเพลงขึ้นให้ฟังกันใน Blog ผมอีกทีนะครับ คำแรกเสนอคำว่า " พลก " พลก หรือ พลกพร้าว คือ กะลา หรือ กะลามะพร้าว นั้นเอง คนใต้จะเรียกว่าพลก ส่วน กาบมะพร้าว คนใต้จะเรียกว่า พดพร้าว ตัวอย่าง: ไขนุ้ยเอาพดพร้าวกับพลกพร้าวในซอบไปกอไฟต้มปูทีตะ ออ ยาลืมใสน้ำมันกาดกันหนา คำแปล ไข่นุ้ยเอากาบม่ะพร้าวกับกะลามะพร้าวในกระสอบไปก่อไฟต้มปูหน่อย ออ อย่าลืมใส่น้ำมันก๊าดไปด้วยละ นอกจากนี้ยังนิยมนำกะลามะพร้าวไปเผาถ่านกันด้วยนะครับไม่รู้ว่าภาคอื่นเขาใช้เผ่าถ่านด้วยหรือไม่

ม้าขาลี่

ไม่รู้ว่าผมเขียน "ม้าขาลี่" ถูกหรือเปล่า? แต่คุ้นๆ ว่าคนแถวบ้าน ( ระยอง - ศรีราชา ) เรียกการละเล่น ที่มีคนเขย่งขาข้างนึง กระโดษๆ ไปแปะคนอื่นที่วิ่งหนีอยู่ในวง คนที่โดนแปะก็มาเป็นม้าแทน แต่เห็นว่าบางคนเรียก "กระต่ายขาเดียว" :-P ถามเพื่อนที่สระแก้วก็เรียกอีกอย่างแต่ผมจำไม่ได้แล้ว ...

คำบอกเวลา

ในภาษาไทยมีคำบอกเวลาเยอะไปหมด บางทีบอกว่านัดกันเย็นๆ แต่เย็นแล้วเย็นอีกก็ไม่เห็นหน้า ผมเลยลองเขียนออกมาว่าคำบอกเวลาในความคิดของผมมันคือเวลาเท่าไหร่กันแน่ ไม่รู้ว่าคนอื่นจะคิดเหมือนกันหรือเปล่า เวลา คำบอกเวลา 24.00-0.59 เที่ยงคืน 5.30-5.59 เช้าตรู่ 6.00 - 7.59 เช้า 8.00 - 10.59 สาย 11.00-11.59 เพล 12.00-12.59 เที่ยง 13.00 - 15.59 บ่าย 16.00 - 18.59 เย็น 19.00 - 19.30 หัวค่ำ 19.00 - 20.59 ค่ำ 21.00 - 24.00 ดึก ท่านเด่นสินเพิ่มเติมมาว่ายังมีคำว่า โพล้เพล้ อีก​ ซึ่งใช้การดูแสงอาทิตย์บนฟ้ารำไร ซึ่งก็น่าจะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล

ภาษากลาง: สุรา, เมรัย, มัชชะ

สองครั้งแล้ว ต่างคน ต่างวาระ ที่ได้ยินการตีความศีลข้อห้าแบบแปลกๆ โดยพยายามอ้างบาลีด้วย ในทำนองว่า พุทธบริษัทส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า ศีลข้อห้านั้นให้งดดื่มเหล้า ทั้งที่จริงให้ดื่มแต่พอดี แล้วก็ยกวลี "มชฺชปมา" ใน "สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา.." มาประกอบ ว่าหมายถึง "มัชฌิมา" คือปานกลาง ซึ่งเป็นการลากคำเข้าความ และเห็นว่าเรื่องนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจทางภาษา เลยยกมาเขียนใน lang4fun เสียหน่อย เริ่มจากแยกคำบาลีเสียก่อน "สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา" ประกอบด้วยคำว่า "สุรา", "เมรัย", "มัชชะ", "ปมาท" และ "ฐานา" ซึ่งสามคำแรก มีความหมายถึงเครื่องดองของเมาชนิดต่างๆ ดังนี้ สุรา น. เหล้า, น้ำเมาที่ได้จากการกลั่น, (มักใช้เป็นทางการ), เช่น ร้านนี้ขายแต่สุราต่างประเทศ. (ป., ส.). เมรัย น. น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่, น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น. (ป.). มัชชะ น. น้ำเมา, ของเมา. (ป. มชฺช). โดยมีคำว่า มัชวิรัติ ที่แปลว่า การงดเว้นของมึนเมา ซึ่งคงจะตรงกับภาษาอังกฤษว่า teetotal ด้วย กล่าวคือ "สุรา" หมายถึงน้ำเมาที่ก

ภาษาใต้: มาก ...

คิดไว้ว่าจะรวบรวมคำที่มีความหมายว่า "มาก" ว่าจะมีสักกี่คำที่ผมรู้จัก -_-! เริ่มนับกันเลยครับ กองลุย กองเอ กาเอ,กะเอ กาลุย,กะลุย กาลักกาลุย,กะลักกะลุย กาโข,กะโข โขลุย ครัน แตรกแตรก จัง,จังหู จังเสีย จ้าน เจกเจก จม,จ้านจม รึด,รึดๆ ราสา หนัดเหนียน หลาย ใครมีคำแนะนำดีๆ ช่วยแนะนำด้วยครับผม

ภาษาใต้: เต็ด..

ภาษาใต้วันนี้ขอเสนอคำว่า "เต็ด" โดยความหมายจะหมายถึง "เล็กๆ" เทียบได้กับคำว่า "เอียด" และ "ฮิต" ในภาษาใต้เช่นกัน ตัวอย่าง "น้องสาวนี้ตัวเท่าเต็ดอ้อร้อได้แรง" หมายถึง "น้องสาวคนนี้ตัวเล็กนิดเดียวแต่แรดจริงๆ" "ไม้อันนี้เอียดแรงหามหมาได้ไหม้" หมายถึง "ไม้ท่อนนี้เล็กเกินไปหามไม่ไหวหรอก" "ไอ้บาวนีตัวเท่าฮิตอย่ามาด้นกับกับพี่" หมายถึง "ไอ้หนุ่มตัวเล็กแบบนี้อย่ามายุ่งกับพี่เลย" แล้วเจอกันใหม่ครับ