อีกสักคำที่คนภาคกลางเอามาใช้ในความหมายที่เปลี่ยนไป คือคำว่า "เสี่ยว"
เสี่ยว น. เพื่อนรัก, เกลอ.
ความจริงแล้ว "เสี่ยว" ในภาษาอีสาน มีความหมายสองระดับ ถ้าเป็น "เสี่ยว" ตามประเพณีพื้นบ้านนั้น
คนที่เป็นเพื่อนรักกันขนาดตายแทนกันได้ จะเข้าพิธี "ผูกเสี่ยว" คือผูกข้อมือ บายศรีสู่ขวัญ ตกลงเป็น "เสี่ยว"
กัน คือใครมีเรื่องเดือดร้อน ก็จะช่วยเหลือกัน ลูกของตัวก็อาจจะยก "เสี่ยว" เป็นพ่อทูนหัว/แม่ทูนหัว
อะไรประมาณนั้น แต่ "เสี่ยว" ก็มีความหมายในระดับทั่วไปด้วย
คือบางทีคนที่เป็นเพื่อนสนิทกันโดยไม่ได้เข้าพิธีผูกเสี่ยว ก็อาจจะเรียกเพื่อนว่า "เสี่ยว" ก็ได้
ซึ่งจะมีความสนิทสนมกว่าอีกคำหนึ่งที่หมายถึงเพื่อนฝูงโดยทั่วไป:
หมู่ น. เพื่อน; กลุ่ม, พวก.
คำว่า "หมู่" ความหมายแรก ใช้เหมือนคำว่า "เพื่อน" ตามปกติในภาษาไทยกลางทุกประการ
"เฮาเป็นหมู่กัน" ก็หมายถึง "เราเป็นเพื่อนกัน" ถ้าไม่กล้าไปที่ไหนคนเดียว ก็อาจจะชวนคนอื่น
"ย่างไปเป็นหมู่" คือ "เดินไปเป็นเพื่อน...
ความคิดเห็น