บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2548

ภาษากลาง: สุรา, เมรัย, มัชชะ

สองครั้งแล้ว ต่างคน ต่างวาระ ที่ได้ยินการตีความศีลข้อห้าแบบแปลกๆ โดยพยายามอ้างบาลีด้วย ในทำนองว่า พุทธบริษัทส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า ศีลข้อห้านั้นให้งดดื่มเหล้า ทั้งที่จริงให้ดื่มแต่พอดี แล้วก็ยกวลี "มชฺชปมา" ใน "สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา.." มาประกอบ ว่าหมายถึง "มัชฌิมา" คือปานกลาง ซึ่งเป็นการลากคำเข้าความ และเห็นว่าเรื่องนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจทางภาษา เลยยกมาเขียนใน lang4fun เสียหน่อย เริ่มจากแยกคำบาลีเสียก่อน "สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา" ประกอบด้วยคำว่า "สุรา", "เมรัย", "มัชชะ", "ปมาท" และ "ฐานา" ซึ่งสามคำแรก มีความหมายถึงเครื่องดองของเมาชนิดต่างๆ ดังนี้ สุรา น. เหล้า, น้ำเมาที่ได้จากการกลั่น, (มักใช้เป็นทางการ), เช่น ร้านนี้ขายแต่สุราต่างประเทศ. (ป., ส.). เมรัย น. น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่, น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น. (ป.). มัชชะ น. น้ำเมา, ของเมา. (ป. มชฺช). โดยมีคำว่า มัชวิรัติ ที่แปลว่า การงดเว้นของมึนเมา ซึ่งคงจะตรงกับภาษาอังกฤษว่า teetotal ด้วย กล่าวคือ "สุรา" หมายถึงน้ำเมาที่ก