ภาษาอีสาน: คำอีสานในภาษาไทยกลาง

อีสานขอร่วมแจมมั่งนะครับ ก่อนจะเริ่มแบบทีละคำ ผมมีบันทึกที่รวบรวมคำอีสานที่ปรากฏในภาษาไทยกลางไว้ นี่ทำบันทึกหายไปแล้ว เลยนั่งนึกใหม่ อาจมีตกหล่นไปบ้าง

ภาษาท้องถิ่นนั้น ค่อนข้างจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อย เมื่อเทียบกับภาษาไทยกลาง ดังนั้น นักนิรุกติศาสตร์หลายท่านจึงอาศัยภาษาท้องถิ่นเป็นเบาะแสของประวัติของคำไทย บางคำเป็นคำเก่า หลงเหลืออยู่แต่ในภาษาเขียนของไทยกลาง แต่ยังใช้ในภาษาพูดปกติในท้องถิ่น บางคำกลายเป็นคำซ้อน ฯลฯ ลองมาดูตัวอย่างของคำอีสานบางคำดูก่อน:

คำอีสาน ความหมาย คำที่ปรากฏในไทยกลาง
ย่าง เดิน ก้าวย่าง ย่างเยื้อง ย่างเข้าสู่(ปีที่สิบ)
แล่น วิ่ง โลดแล่น (รถ)แล่น
เบิ่ง ดู เบิ่งตาดู
คัก ถึงใจ คึกคัก
เคียดโกรธ เคียดแค้น
เคืองรำคาญแค้นเคือง โกรธเคือง ระคายเคือง
เว้า พูด เว้าวอน
แจ้ง สว่าง กลางแจ้ง รู้แจ้ง
มัก ชอบ มักง่าย เลือกที่รักมักที่ชัง
ซัง (ชัง) เกลียดเกลียดชัง น่าชัง
ลาง บาง(คน,สิ่ง) ลางเนื้อชอบลางยา
เฮือน (เรือน) บ้าน บ้านเรือน เรือนไทย
เติบ มาก, พอดู มือเติบ เติบโต
ติง ขยับ ไหวติง

ยังมีอีกหลายคำ เสียดายที่ทำบันทึกหาย แต่ตัวอย่างเหล่านี้ น่าจะพอบอกประโยชน์ของการศึกษาภาษาท้องถิ่นในแง่นิรุกติศาสตร์ได้บ้าง

ความคิดเห็น

Isriya กล่าวว่า
ที่แจ้ง == ที่สว่าง, กลางแดด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาใต้ : คำสรรพนามที่รู้จัก..

รวมมิตร: สัตว์จตุบาท

ภาษาใต้: หมัน...