บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2549

รบ..

คำที่เจ็ด (ขอเป็นคำสุดท้ายละ) ในเพลง "โจใจ" คือคำว่า "รบ" หลายคนได้ยินคำว่ารบแล้วมักจะนึกว่าเป็นเรื่องใหญ่โต แต่คนใต้คำว่ารบนี่ใช้ได้ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบจริงๆ ความหมายของคำว่ารบจะครอบคลุมดังนี้ กวน, ทะเลาะ และ รบรา (สงคราม) ตัวอย่าง ผัวฉานมันรบทั้งคืนไม่ได้หลับได้นอนนิ๊ : สามีของฉันกวนทั้งคืนไม่ได้หลับได้นอน ถ้าไม่ห้ามไว้นะได้รบกับบาวนั้นแม่น : ถ้าไม่ห้ามไว้คงได้ต่อยกับหนุ่มคนนั้นแน่ๆ เป็นพี่น้องกันอย่ารบกัน : เป็นพี่น้องกันอย่าทะเลาะกัน

แลท่า..

คำที่หกในเพลง "โจใจ" คือคำว่า "แลท่า" คำว่า "แลท่า" แปลยากเหมือนกันความรู้สึกลึกๆ มันเข้าใจแต่พอให้ความหมายเป็นภาษากลางนี่ในก็ยากอยู่เหมือนกัน สรุปได้ว่าคำคำนี้หมายความว่า "ท่าทาง,ส่อเค้า และ สงสัย (อาจมีอีก)" ตัวอย่าง: แลท่าบาวนั้นจะเล่นยา : ท่าทางหนุ่มคนนั้นจะติดยา แลท่าฝนจะตกหนัก : สงสัยฝนจะตกหนัก แลท่าการเลือกตั้งจะโมฆะ : ส่อเค้าว่าการเลือกตั้งจะโมฆะ

ดายของ

คำที่สี่ ในเพลง "โจใจ" คือคำว่า "ดายของ" คำว่าดายของแปลตรงก็คือเสียดายนั้นเอง ตัวอย่าง ฮาย...แลกวาไปเห็นสาวคนนั้นสวยได้แรงแต่ดายของมีผัวเสียแล้ว!! แปล เฮ้อ...เมื่อวานไปเจอสาวคนหนึ่งสวยมากแต่เสียดายมีสามีเสียแล้ว!!

หา...

คำที่สามในเพลง " โจใจ " คือคำที่นำหน้าด้วยคำว่า หา... คำว่า หา.. นำหน้าคำไหนคำนั้นจะเป็นการปฏิเสธ พูดง่ายๆ ก็จะกลายเป็น ไม่... นั้นเอง ตัวอย่าง หายอม : ไม่ยอม หาใช่ : ไม่ใช่ หานอน : ไม่นอน บางถิ่นจะใช้คำว่า หมา หรือ ไหม้ เช่น หายอม : หมายอม , ไหม้ยอม หาใช่ : หมาใช่, ไหม้ยอม หานอน : หมานอน, ไหม้นอน

หมึงสา

อีกคำหนึ่งในเพลง "โจใจ" คือคำว่า " หมึงสา " หมึงสา เป็นคำลงท้ายประโยคความหมายประมาณว่า สงสัยจะ .... มั้ง (แปลยากอีกแล้ว) มั้งมีก็ได้ไม่มีก็ได้ ตัวอย่าง พ่อ: แม่ลูกไขไปไหนอะไม่เห็นตั้งแต่หัวหวางแล้ว แม่: ไปบ้านดอนกับเพื่อนหมึงสา แปล พ่อ: แม่ลูกหายไปไหนเหรอไม่เห็นตั้งแต่เช้ามืดแล้ว แม่: สงสัยจะไปบ้านดอนกับเพื่อนมั้ง หมายเหตุ: หัวหวาง (หัวหว่าง) หัวรุ่ง ไก่ขัน อาจจะพูดต่างกันบ้างในบางถื่นแต่ความหมายเหมือนกัน คือ เช้ามืด

พลก

หายไปนานเลยสำหรับการ update คำศัพท์เมื่อสองวันก่อนได้ซื้อ CD เพลงชุดใหม่ของมาลีฮวนน่ามาและมีเพลงหนึ่ง ชื่อเพลง "โจใจ" ก็ทำให้นึกถึงกระทู้ใน LTN ที่ Post ถามผมเรื่องโจวันนี้เลยมาเขียนศัพท์ที่มีในเพลงสักหน่อย แล้วจะเอาเพลงขึ้นให้ฟังกันใน Blog ผมอีกทีนะครับ คำแรกเสนอคำว่า " พลก " พลก หรือ พลกพร้าว คือ กะลา หรือ กะลามะพร้าว นั้นเอง คนใต้จะเรียกว่าพลก ส่วน กาบมะพร้าว คนใต้จะเรียกว่า พดพร้าว ตัวอย่าง: ไขนุ้ยเอาพดพร้าวกับพลกพร้าวในซอบไปกอไฟต้มปูทีตะ ออ ยาลืมใสน้ำมันกาดกันหนา คำแปล ไข่นุ้ยเอากาบม่ะพร้าวกับกะลามะพร้าวในกระสอบไปก่อไฟต้มปูหน่อย ออ อย่าลืมใส่น้ำมันก๊าดไปด้วยละ นอกจากนี้ยังนิยมนำกะลามะพร้าวไปเผาถ่านกันด้วยนะครับไม่รู้ว่าภาคอื่นเขาใช้เผ่าถ่านด้วยหรือไม่