บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2548

ภาษาอีสาน: ขิว

กลิ่นที่แหลมเสียดจมูก และอาการถูกกระทบกระทั่งทางจิตใจที่ทำให้ขัดเคือง ไม่พอใจ ที่ภาษากลางเรียกว่า "ฉุน" นั้น คำอีสานใช้คำว่า "ขิว" ขิว ว. (กลิ่น) ฉุน, ก. โกรธเคือง, ไม่พอใจ. และเนื่องจากเสียง ข ไข่ ในบางถิ่น จะออกเป็นเสียงกล้ำระหว่าง ข ไข่ กับ ฉ ฉิ่ง ซึ่งเสียง ฉ ฉิ่ง จะเด่นกว่า จึงอาจจะได้ยินเป็น "ฉิว" บ้าง (แถวบ้านที่ขอนแก่น ได้ยินแต่ "ฉิว" มาตลอด แถมอารมณ์มันคล้าย "ฉุน" เสียด้วย เพิ่งมาเรียนรู้ว่าจริงๆ เขียนว่า "ขิว" ก็ตอนที่อ่านหนังสือพื้นบ้าน และตอนที่เริ่มได้ยินสำเนียงต่างถิ่นมากขึ้นนี่เอง)

ภาษากลาง: จุติ

คำว่า "จุติ" นี้ ดูจะใช้กันสับสน ที่แน่ๆ คือเป็นคำที่ใช้แก่เทวดาเมื่อสิ้นบุญจากสวรรค์ ลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ คำว่า "จุติ" นี้ จึงถูกแปลความหมายว่า "เกิด" บ่อยๆ แต่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายไว้ว่า: จุติ ก. ตาย (มักใช้แก่เทวดา). (ป.; ส. จฺยุติ). กล่าวคือ ตามคติทางธรรมนั้น การเปลี่ยนภพมีสองขั้นตอนหลักๆ (ไม่ขอพูดถึงขั้นตอนย่อยๆ เดี๋ยวจะยาว) คือ จุติ ซึ่งตรงกับการ "ตาย" ในความหมายปกติ กับ ปฏิสนธิ ซึ่งหมายถึงการ "เกิด" (สองคำนี้ นักสนทนาธรรมใน TLWG คงจะได้ยินกันจนชิน) ดังนั้น การพูดว่า "เทวดาลงมาจุติ" จึงฟังดูขัดๆ แต่ถ้าพูดว่า "เทวดาจุติลงมา" แบบนี้ฟังได้ใจความ คำว่า "จุติ" มักใช้กับเทวดา แต่วรรณคดีบางเรื่องก็นำมาใช้กับมนุษย์ด้วย เช่น ในมหาชาติภาคพายัพ ฉบับสร้อยสังกร อานิสงส์การสร้าง มีร่ายตอนหนึ่งว่า: ปุคคละผู้ใดหนา ได้ฟังธรรมเทศน์ ชื่อมหาเวสสันดร คันผู้นั้น จุติ จรตายจาก ได้พลัดพรากเมืองคน ก็จักได้เอาตนเมือเกิด ห้องฟ้าเลิศทิพพอาวาสา อย่างไ

ภาษาใต้ : ลูกผุน

หายไปนานเลยสำหรับภาษาใต้ ได้ข่าวแว่วๆ ว่าพี่เทพจะประกาศหาใน missingpersons ซะแล้ว.. ช่วงที่ผ่านมาก็วุ่นๆ ประกอบกับขี้เกียจด้วยเลยไม่ค่อยได้เขียน blog วันนี้เลยเขียนสักหน่อย คำว่าลูกผุน ไม่แน่ใจว่าสะกดถูกหรือไม่ หมายถึง พวกชามกินข้าว ใส่แกง นึกไม่ออกก็นึกถึงกะละมังย่อส่วนเอา แต่บ้านผมเรียกลูกโคมแฮะ แถวทางตรัง หรือภาคใต้ตอนล่างจะเรียกลูกผุนกัน แรกผมเองก็งงๆ ว่ามันคืออะไร..

ภาษาอีสาน: เมือบ้าน

เทศกาลปีใหม่ การจราจรสายที่ถือว่าคับคั่งมากที่สุดเห็นจะเป็นสายอีสาน เพราะชาวอีสานที่กระจายกันไปทำงานในเมืองหลวง และตามภูมิภาคต่างๆ มากมาย พากัน "เมือบ้าน" เมือ ก. กลับคืนสู่. คำว่า "เมือ" บางท้องถิ่น เช่น ขอนแก่น จะออกเสียงเป็น "เมีย" เพราะไม่มีเสียงสระเอือ แต่ถ้าไปตามตลาด จะเห็นพูดทั้ง "เมือ" และ "เมีย" ปนกัน เพราะพ่อค้าแม่ขายเอง ก็หอบของมาขายจากท้องถิ่นอื่นเหมือนกัน ใครเคยได้อ่าน ลิลิตพระลอ จะเห็นศัพท์พื้นถิ่นไทยเหนือ-อีสานอยู่ประปราย ในบรรดานั้น มีคำว่า "เมือ" ซึ่งแปลว่า "กลับคืนสู่" นี้อยู่ด้วย (ขออภัยที่หนังสือไม่ได้อยู่กับตัว ไม่สามารถยกมาเป็นตัวอย่างได้) ทั้งๆ ที่คำเมืองล้านนาจะใช้คำว่า "ปิ๊ก" ตรงนี้ยังไม่ทราบที่มาที่ไปเหมือนกัน สำหรับคำว่า "บ้าน" นี้ มีเกร็ดที่น่าสังเกตว่า ภาษาอีสานจะเรียก "บ้าน" กับ "เฮือน" (เรือน) แยกกันชัดเจน โดย "บ้าน" มีความหมายเหมือน home และ "เฮือน" เหมือน house ของฝรั่ง ดังนั้น คุณจะ "เมือบ้าน"

ภาษาอีสาน: ตะเว็น, อีเกิ้ง

ไหนๆ ภาษากลางก็พูดถึงดวงอาทิตย์ไปแล้ว ภาษาอีสานเรียกดวงอาทิตย์ว่า "ตะเว็น" ซึ่งเหมือนกับ "ตะวัน" ในภาษากลางนั่นเอง คำว่า "เว็น" ในภาษาอีสาน หมายถึง "วัน" ในภาษากลาง เฉพาะในความหมายว่า "ในเวลากลางวัน" เท่านั้น เช่น "มาแต่เว็นแท้" หมายถึง "มาแต่วันเชียวนะ" หรือ "กางเว็นไปไสมา" หมายถึง "ตอนกลางวันไปไหนมา" ส่วน "วัน" ที่เป็นหน่วยเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองนั้น ภาษาอีสานใช้คำว่า "มื้อ" เว็น ว. กลางวัน. ตะเว็น น. ตะวัน. มื้อ น. วัน. ส่วนดวงจันทร์หรือดวงเดือนนั้น คำเรียกอีสานออกจะแปลกสักหน่อย: อีเกิ้ง น. ดวงจันทร์. ปล. ภาษาใต้เจ้าของเว็บหายไปไหนหว่า..

ภาษากลาง: อาทิตย์ (+ อุษา, อรุณ)

ดวงอาทิตย์ เป็นสัญลักษณ์ของวันใหม่ โดยที่ดวงอาทิตย์เอง ก็เป็นแหล่งพลังงานหลักให้แก่โลกมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพลังลม พลังน้ำ พลังความร้้อน พลังงานจากอาหาร หากสืบต้นตอแล้ว ก็ล้วนมาจากดวงอาทิตย์แทบทั้งสิ้น จึงไม่น่าแปลกอะไร ที่วัฒนธรรมต่างๆ จะนับถือดวงอาทิตย์ และถือเอาเป็นสัญลักษณ์แห่งพลัง ความหวัง และโอกาส สำหรับไทยเรา ก็รับเอาพระสุริยาทิตย์ของฮินดูเข้ามาทางวรรณคดี และใช้คำว่า "ดวงอาทิตย์" เรียกแทนคำว่า "ตะวัน" คำว่า "อาทิตย์" โดยรากศัพท์แปลว่า "โอรสแห่งพระนางอทิติ" พระนางอทิติเป็นมเหสีของพระกัศยปซึ่งได้รับฉายาว่าเป็นเทพบิดร เพราะนอกจากจะเป็นบิดาของทั้งเทพเจ้าองค์สำคัญแล้ว ยังเป็นบิดาของครุฑ นาค แทตย์ ทานพ รากษส และปิศาจ อันเกิดจากชายาองค์ต่างๆ อีกด้วย ซึ่งเหล่าแทตย์ (โอรสนางทิติ) ทานพ (โอรสนางทนุ) และรากษส สามเหล่านี้ รวมเรียกว่า "อสูร" ซึ่งเป็นศัตรูของเหล่าเทพนั่นเอง พระนางอทิติมีโอรสทั้งหมด ๘ องค์ บางตำราว่า ๗ หรือ ๑๒ บ้าง แตกต่างกันไป ทุกองค์เรียกว่า "อาทิตย์" ทั้งนั้น ตามคัมภีร์พราหมณ์ยุคไตรเพทนั้น พระอาทิต