ภาษาอีสาน: ตะเว็น, อีเกิ้ง

ไหนๆ ภาษากลางก็พูดถึงดวงอาทิตย์ไปแล้ว ภาษาอีสานเรียกดวงอาทิตย์ว่า "ตะเว็น" ซึ่งเหมือนกับ "ตะวัน" ในภาษากลางนั่นเอง คำว่า "เว็น" ในภาษาอีสาน หมายถึง "วัน" ในภาษากลาง เฉพาะในความหมายว่า "ในเวลากลางวัน" เท่านั้น เช่น "มาแต่เว็นแท้" หมายถึง "มาแต่วันเชียวนะ" หรือ "กางเว็นไปไสมา" หมายถึง "ตอนกลางวันไปไหนมา" ส่วน "วัน" ที่เป็นหน่วยเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองนั้น ภาษาอีสานใช้คำว่า "มื้อ"

เว็น ว. กลางวัน.

ตะเว็น น. ตะวัน.

มื้อ น. วัน.

ส่วนดวงจันทร์หรือดวงเดือนนั้น คำเรียกอีสานออกจะแปลกสักหน่อย:

อีเกิ้ง น. ดวงจันทร์.

ปล. ภาษาใต้เจ้าของเว็บหายไปไหนหว่า..

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาใต้ : คำสรรพนามที่รู้จัก..

รวมมิตร: สัตว์จตุบาท

ภาษาใต้: หมัน...