อีกสักคำที่คนภาคกลางเอามาใช้ในความหมายที่เปลี่ยนไป คือคำว่า "เสี่ยว"
เสี่ยว น. เพื่อนรัก, เกลอ.
ความจริงแล้ว "เสี่ยว" ในภาษาอีสาน มีความหมายสองระดับ ถ้าเป็น "เสี่ยว" ตามประเพณีพื้นบ้านนั้น
คนที่เป็นเพื่อนรักกันขนาดตายแทนกันได้ จะเข้าพิธี "ผูกเสี่ยว" คือผูกข้อมือ บายศรีสู่ขวัญ ตกลงเป็น "เสี่ยว"
กัน คือใครมีเรื่องเดือดร้อน ก็จะช่วยเหลือกัน ลูกของตัวก็อาจจะยก "เสี่ยว" เป็นพ่อทูนหัว/แม่ทูนหัว
อะไรประมาณนั้น แต่ "เสี่ยว" ก็มีความหมายในระดับทั่วไปด้วย
คือบางทีคนที่เป็นเพื่อนสนิทกันโดยไม่ได้เข้าพิธีผูกเสี่ยว ก็อาจจะเรียกเพื่อนว่า "เสี่ยว" ก็ได้
ซึ่งจะมีความสนิทสนมกว่าอีกคำหนึ่งที่หมายถึงเพื่อนฝูงโดยทั่วไป:
หมู่ น. เพื่อน; กลุ่ม, พวก.
คำว่า "หมู่" ความหมายแรก ใช้เหมือนคำว่า "เพื่อน" ตามปกติในภาษาไทยกลางทุกประการ
"เฮาเป็นหมู่กัน" ก็หมายถึง "เราเป็นเพื่อนกัน" ถ้าไม่กล้าไปที่ไหนคนเดียว ก็อาจจะชวนคนอื่น
"ย่างไปเป็นหมู่" คือ "เดินไปเป็นเพื่อน...
ความคิดเห็น
พอพูดถึงสรรพนามบุรุษที่สองที่หมายถึงผู้ที่เราพูดด้วย ก็จะนึกถึงอยู่ ๒ คำ คือ "เจ้า" และ "โต" หมายถึงคุณ หรือเธอ เช่น "เจ้าสิไปไส" หรือ "โตสิไปไส" ก็แปลว่า "คุณจะไปไหน" หรือ "เธอจะไปไหน" ส่วนถ้าสรรพนามบุรุษที่สองที่คุยกับผู้อาวุโสมากกว่า ก็อาจจะเรียกว่า "อ้าย" หรือ "เอื้อย" คือ "พี่ชาย" และ "พี่สาว" ส่วนจะใช้ เจ้า หรือโต เมื่อไหร่ หรือต่างกันยังไง ยังไม่แน่ใจ แต่พอฟังคำว่า "เติน" ก็ไปนึกถึงคำว่า "เพิ่น" นึกไปนึกมา เอ้า! เป็นสรรพนามบุรุษที่สามต่างหาก แปลว่า "เขา" (ผู้ที่เราอ้างถึง) นึกๆ ไปแล้วเรามาคุ้ยกันเรื่องสรรพนามให้หมดก็ดีเหมือนกันเนอะ