รวมมิตร: แมลงและตัวอ่อนของแมลง
แมลงเป็นสัตว์ที่มีจำนวนสปีชีส์มากที่สุด จึงน่าจะมีคำท้องถิ่นเรียกเยอะแยะ รวมทั้งตัวอ่อนของแมลงก็ยังมีชื่อเรียกต่างหากอีก
แมลง
กลาง | เหนือ | อีสาน | ใต้ |
---|---|---|---|
แมลงปอ | กำปี้ | แมงกะบี้, แมงคันโซ้ | แมงปอ |
ผีเสื้อ | กำเบ้อ | แมงกะเบื้อ | แมงพี้,แมงบี้ |
กว่าง | กว่าง | แมงคาม | - |
แมงป่อง | แมงป่อง | แมงงอด | แมงปอง |
แมลงทับ | แมงตับ (ทอง) | แมงคับ | แมงพลับ |
จิ้งหรีด | จะหีด, จิ้งหรีด, จะหรีด | จิ้งหรีด, แมงจี่นาย, แมงจี่หล้อ [หล่อ] | - |
จิ้งโกร่ง | - | แมงจี่ป่ม | - |
แมงกินูน | แมงนูน | แมงกินูน | - |
ด้วงขี้ควาย | - | แมงกุดจี่ | จู้จี้ขี้ควาย |
แมลงกระชอน | แมงจอน | แมงซอน, แมงกิซอน | แมงชอน |
กิ้งกือ | แมงขี้เต๋า, แมงแสนตี๋น | แมงบ้งกือ | จิ้งกือ,ผ้ึงกือ |
ตัวอ่อนของแมลง
้กลาง | เหนือ | อีสาน | ใต้ |
---|---|---|---|
ลูกน้ำ | - | แมงง้องแง้ง | - |
ตัวไหม | - | แมงหม่อน | - |
บุ้ง | แมงบ้ง | แมงบ้ง | - |
หมายเหตุ
- ภาษาอีสาน: ไม่มีคำว่า "แมลง" มีแต่ "แมง" อย่างเดียว และดูจะใช้นำหน้าชื่อแมลงทุกชนิดอย่างคงเส้นคงวา พอๆ กับคำว่า "ปลา" ในภาษากลาง แถมยังใช้เรียกตัวอ่อนของแมลงอีกด้วย
- ภาษาอีสาน: "แมงบ้งกือ" แปลว่าหนอน (บุ้ง) ที่มีขาจำนวนมาก คำว่า "กือ" เป็นหน่วยนับตัวเลขในภาษาอีสาน มีค่าเท่ากับ 10 โกฏิ มักใช้แทนคำว่า "มากมายมหาศาล" เช่น "พญากือนา" หมายถึง พญาผู้มีศักดินามหาศาล หน่วยนับตัวเลขในภาษาอีสานถัดจากล้าน ได้แก่ โกฏิ กือ ตื้อ ติ่ว อสงไขย (นับไปบ่ได้) ตามลำดับ
- คำอธิบายเพิ่มเติม ชื่อแมลง ในภาษาอีสาน
- ดู รูปแมลง (ที่อยู่บนจาน พร้อมคุณค่าทางโภชนาการ)
- สำหรับภาษาเหนือนั้น อาจมีการสับสนบ้างเล็กน้อย ยังไงก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ^^" เอาเป็นว่าผมยกผลประโยชน์ให้โจทย์เลยก็แล้วกันนะครับ
ความคิดเห็น
มี comment เพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับภาษาอีสานครับ
- แมลงปอ มีชื่อเรียกตามถิ่นต่างๆ ไม่เหมือนกัน แถวขอนแก่น กาฬสินธุ์ จะเรียกว่า "แมงกะบี้" แต่ถ้าไปแถวมหาสารคาม ร้อยเอ็ด จะเรียก "แมงคันโซ้"
- จิ้งหรีด ไม่มีคำเรียกรวมๆ เหมือนภาษากลาง จึงใช้คำว่า "จิ้งหรีด" ทับศัพท์ แต่ในภาษาอีสาน จะมีคำเรียกเป็นชนิดย่อยๆ เช่น "แมงจินาย" คือจิ้งหรีดสีดำ ส่วน "แมงจิหล่อ" คือจิ้งหรีดสีขาว
ขอขอบคุณ คุณครูวันชัย มา ณ ที่นี้
- จั๊กก่า ในโพสต์ก่อนบอกว่าคือกิ้งก่า แต่ก็ใช้เรียกกิ้งกือด้วยเหมือนกัน?
- ฮวก ในภาษาอีสาน หมายถึง ลูกอ๊อด แต่ภาษาเหนือ อี่ฮวก หมายถึงลูกน้ำ แปลกดีเหมือนกัน
(ตามแบบฉบับคนใต้ทำให้คำสั่นออกเสียงง่ายๆ)
- ผีเสื้อ > แมงบี้
- แมลงกระชอน > แมงชอน
แค่นี้ก่อนครับ
- แมลงปอ : ก๋ำบี้
- ผีเสื้อ : ก๋ำเบ้อ
- กว่าง : กว่าง
- แมงป่อง : แมงป่อง
- แมลงทับ : แมงตับ (ทอง)
- จิ้งหรีด : คนสมัยเก่าเรียก "จะหีด" เด็กสมัยใหม่เรียก "จิ้งหรีด, จะหรีด"
- จิ้งโกร่ง : (ตัวอะไรกันเนี่ย ??)
- แมงกินูน : แมงนูน
- ด้วงขี้ควาย : ตัวนี้มีคำเรียกครับ แต่จำไม่ได้
- แมงกระชอน : แมงจอน (คนใหญ่แล้ว บะถ้ามาสอน จะหีดแมงจอน ไผสอนมันเต้น)
- กิ้งกือ : แมงขี้เต๋า แต่ทางลำพูนเรียกแมงแสนตี๋น (จั๊กก่า = กิ้งก่า = กะปอม)
- ลูกน้ำ : ไม่แน่ใจครับ แต่ "อี่ฮวก" นี่เป็นคำเรียกลูกอ๊อดแน่นอน ผมมั่นใจมาก
- บุ้ง, หนอน : เหมารวมเรียก แมงบ้ง
จิ้งโกร่ง.. ผมก็เพิ่งรู้จักชื่อภาษากลางตอนที่ค้นข้อมูลมาเขียนนี่แหละครับ สมัยเด็กเรียกกันแต่ "แมงกิโปม" [แมงกิ๊โป่ม] อาศัยอยู่ในรูใต้ดิน เด็กๆ ชอบแหย่มันขึ้นมากิน แต่บางทีมันชอบมุดรูเข้าไปลึกๆ วิธีง่ายๆ คือเอาน้ำหยอดรู แล้วให้มันสำลักน้ำขึ้นมา.. ทรมานสัตว์ครับ เพื่อนๆ ที่ทำโดนครูจับตีก้นมานักต่อนัก แต่เขาว่า แมงพวกนี้ทอดกินอร่อย
ความจริงมันคล้ายจิ้งหรีด น่าจะเรียกว่าจิ้งหรีดได้ เพราะในภาษาอีสานก็มีแต่คำเรียกจิ้งหรีดชนิดย่อยๆ ไม่มีชื่อรวมอยู่แล้ว แต่เผอิญแหล่งข้อมูลอ้างอิงเขามีคำเรียกภาษากลางว่า จิ้งโกร่ง ก็เลยเรียกตาม
เพื่มเติม: พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒:
จิ้งโกร่ง น. เรียกจิ้งหรีดชนิด Brachytrypes portentosus เป็นจิ้งหรีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว, อ้ายโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก, พายัพ เรียก จี้กุ่ง หรือ ขี้กุ่ง อีสานเรียก จี่นายโม้ จี่ป่ม หรือ จี่โป่ง.
มีอิกมั้ยค่ะอยากได้เยอะๆอ่ะน่าจะมีอิกน่ะแต่เเค่นี้ก้อดีแร้วอ่ะ TANG มากมายน่ะค่ะ
๑_๑
มาแชทสนุกสื่อภาษาภาคเหนือกัน "อู้ กำเมือง ม๊วนแต้ๆ"
อุดหนุน Sticker Line น้ำปู๋ ได้ที่ http://line.me/S/sticker/1158277
กด Like กด Share และติดตามได้ที่ fanpage https://www.facebook.com/sticker.nampuu