ภาษาอีสาน: ไค

ไค ว. ดีขึ้น, ค่อยยังชั่ว.

คำว่า "ไค" ในภาษาอีสานใช้ได้หลายอย่าง ที่ได้ยินกันบ่อยที่สุดคงเป็นวลี "ไคแหน่" แปลว่า "ค่อยยังชั่วหน่อย" เหมือนในเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง ว่าลุงคนหนึ่งทำงานโรงงานย้อมด้าย วันหนึ่งไปเที่ยวกรุง เดินเหนื่อยมาทั้งวัน เลยไปนั่งพักสั่งก๋วยเตี๋ยว พอได้ลงนั่งก็บิดขี้เกียจคลายเมื่อย บิดแขนบิดไหล่พลางว่า "อ้าห์.. ไคแหน่.." จิ๊กโก๋แถวนั้นเห็นอากัปกิริยาและคำพูด นึกว่าท้าทายถามว่า "ใครแน่" เลยลุกอาดๆ เข้าไปหาลุง ถามว่า "เฮ้ย มึงแน่มาจากไหน" ลุงก็ตอบประสาซื่อด้วยสำเนียงอีสานว่า "ย้อมด้าย" [ย่อมด้าย] "โห.. แน่จริงว่ะ ไม่ต้องพูดพล่ามทำเพลงมาก" จิ๊กโก๋นึกในใจ พลางประเคนหมัดเข้าที่ปลายคาง แล้วเรื่องต่อมาก็ตามสเต็ปของมุกคนอีสานโดนอัด ลุงแกตกใจอุทานว่า "อย่าทำข้อยๆ" จิ๊กโก๋ยิ่งเดือดว่าโดนท้าว่าอย่าทำค่อย เลยเป็นคราวซวยของลุงแก

คำว่า "ไค" ยังใช้กับอาการที่ "ดีขึ้น" หรือ "ทุเลาลง" เช่น คนเริ่มสร่างไข้จะตอบคนที่ถามอาการว่า "ไคแล้วล่ะ" แปลว่า "ดีขี้นแล้วล่ะ" หรือการพูดถึงเหตุการณ์ในแง่ดี ในทำนอง "นี่ยังดีนะ" เช่น ไปโดนแก๊งต้มตุ๋นตกทองมา แต่ยังไม่เสียไปทั้งหมด ก็อาจจะพูดว่า "ไคตั้ว บ่ให้มันไปเหมิด" (นี่ยังดีนะ ที่ไม่ได้ให้มันไปหมด)

นอกจากนี้ "ไค" ยังใช้ในคำว่า "ซะไค" ในการพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตที่น่าจะเป็นอีกแบบ เช่น ในช่วงที่หุ้นตก แต่ดันถือหุ้นอยู่ในมือมากมาย ก็อาจจะบ่นว่า "ซะไคข้อยบ่ขายหุ้นไปแต่มื้อก่อน" ความหมายก็ประมาณ "รู้งี้ขายหุ้นไปแต่วันก่อนซะก็ดี"

ความคิดเห็น

ขออนุญาตินะคะ

ยาหม่องคลายเส้น ครีมคลายเส้น ยาหม่องเนื้อโลชั่น “สูตรเย็น” เนื้อครีมเข้มข้นซึมไวไมเหนียวเหนอะหนะ ไม่แสบผิว ไม่ร้อน ครีมคลายเส้นธัญพัฒน์ บรรเทาทุกอาการปวด ปวดเมื่อยตรงไหนทาตรงนั้น ใช้ดีจนต้องบอกต่อ นึกถึงยาหม่อง ต้อง ยาหม่องธัญพัฒน์ เท่านั้น การันตีซื้อแล้วต้องกลับมาซื้อซ้ำ !

ขอบคุณค่ะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาใต้ : คำสรรพนามที่รู้จัก..

รวมมิตร: สัตว์จตุบาท

ภาษาใต้: หมัน...