บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2547

ภาษากลาง: ธรณีพิบัติภัย

ในที่สุด คนไทยก็ได้รู้จักกับภัยพิบัติชนิดใหม่ เมื่อเกิดคลื่นยักษ์จากแผ่นดินไหวใต้ทะเลใกล้เกาะสุมาตรา มีความรุนแรงถึง 9.0 ตามมาตราริกเตอร์ รุนแรงเป็นอันดับ 4 ในรอบศตวรรษ ทำให้ชายฝั่งอันดามันที่เคยเงียบสงบ ต้องพบกับคลื่นน้ำขนาดยักษ์ซัดเข้ามากวาดทุกสิ่งทุกอย่างลงทะเลไป ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวนี้ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีได้บอกในรายการข่าว ว่าเรียกว่า "ธรณีพิบัติภัย" เป็นคำที่เข้าใจว่ายังเป็นศัพท์เฉพาะทางเท่านั้น เพราะเปิดไม่พบในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ และเราไม่เคยมีโอกาสได้ใช้คำนี้เลย จนกระทั่งเมื่อวานนี้ (เดิมมีแต่คำว่า อุทกภัย วาตภัย ทุพภิกขภัย) ไม่แน่ใจว่ามีการบัญญัติอย่างเป็นทางการหรือยัง แต่ก็ขอบันทึกไว้ และขอแสดงความเสียใจต่อผู้ประสบภัยทุกท่าน อย่างไรก็ดี วันนี้เราได้เห็นการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ อย่างแข็งขัน ทั้งฝ่ายแพทย์ สภากาชาด กองทัพเรือ กองทัพอากาศ การท่องเที่ยว กระทรวงการต่างประเทศ การสื่อสารฯ ฯลฯ รวมทั้งภาคเอกชนอย่างเรืออันดามันพรินเซส การบินไทย ภูเก็ตแอร์ ดีแทค ฯลฯ และประชาชนคนไทยทั่วไป ที่แสดงความจำนงขอบริจาคโลหิต ทรัพย์สิน เครื่อ

ภาษาอีสาน: ม่วน

จากที่เกริ่นไปครั้งที่แล้ว ว่าคำอีสานไม่มีคำว่า "เพราะ" ทั้งในความหมายที่ว่า "เสนาะหู" และ "ด้วยเหตุว่า" ความหมายหลังได้กล่าวไปแล้ว ว่าใช้คำว่า " ย้อน " ส่วนความหมายแรกนั้น นอกจากคำว่า " ออนซอน " ที่ใช้ในความหมายแบบ ซาบซึ้งตรึงใจ ก็ยังมีอีกคำ ที่ใช้ในความหมายปกติ คือคำว่า "ม่วน" ซึ่งความจริงแล้ว ก็เป็นเพียงความหมายส่วนหนึ่ง: ม่วน ว. ไพเราะ, สนุก. ความหมายปกติของ "ม่วน" แปลว่า "สนุก" แต่อาจเป็นเพราะดนตรีอีสานส่วนใหญ่มีแต่จังหวะสนุกเร้าใจ เพลงที่เพราะ จึงหมายถึงเพลงที่ฟังแล้วสนุก คำว่า "ม่วน" ที่เราได้ยินบ่อยที่สุด ก็จะอยู่ในวลี "ม่วนซื่นโฮแซว" ซึ่งรวมความว่า "สนุกสนานเบิกบานใจ" หรือในวลี "เว้าให้นัว หัวให้ม่วน" เป็นการเชิญชวนมาพูดจาปราศรัยกันให้หายคิดถึง

ภาษาใต้ : เนียง

เนียง หรือไหขนาดเล็กมักใช้ใส่กะปิ คำนี้จะได้ยินทั่วไปในจังหวัดนครศรีธรรมราช และใกล้เคียงครับ... "ลูกบาวหยีบเนียงเคยให้แม่ที" "ลูกหยิบไหกะปิให้แม่หน่อย"

ภาษากลาง: บพิตร, บพิธ

เจอคำคู่นี้ในหนังสือ "ภาษาพาเพลิน เล่ม ๑" (ชื่อคล้าย blog นี้เลย) ของ ช่วย พูลเพิ่ม เข้า ก็ยอมรับเหมือนกันว่าตัวเองก็สับสน อย่างชื่อวัด ก็มีวัดราชบพิธ วัดเบญจมบพิตร วัดบพิธพิมุข เวลาเขียนคำที่พระสงฆ์ใช้เรียกพระมหากษัตริย์ว่า "มหาบพิตร" ก็อาจสับสนเหมือนกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒: บพิตร [บอพิด] (แบบ) น. พระองค์ท่าน เช่น บำรุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคำที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร. บพิธ [บอพิด] ก. แต่ง, สร้าง. (ป. ป + วิ + ธา). กล่าวคือ "บพิตร" พระสงฆ์ใช้เรียกเจ้านาย แต่ "บพิธ" นั้น ไม่เกี่ยว แปลว่า แต่ง หรือ สร้าง แค่นั้นเอง ตัวอย่างเช่น วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นวัดที่ ร.๕ ทรงสร้างขึ้น ใช้ผู้อำนวยการสร้างถึง ๓ คน จึงเสร็จการ ทรงนำเอาหลักโบราณมาใช้ คือสร้างพระมหาเจดีย์เป็นหลัก ห้อมล้อมด้วยระเบียง มีวิหารทิศสองวิหาร ทางทิศเหนือสร้างเป็นอุโบสถ ทางทิศใต้เป็นวิหาร ตกแต่งภายในแบบตะวันตก แต่ด้านนอกเป็นแบบไทย ยอดพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ความหมายชื่อวัด "ราชบพิธ" แ

ภาษาอีสาน: ย้อน, ขะหยอน

ย้อน [ญ่อน] สัน. ด้วยเหตุที่, อันเนื่องมาจาก. ดูเหมือนภาษาอีสานจะไม่มีคำว่า "เพราะ" ไม่ว่าจะในความหมายว่า "เสนาะหู" หรือ "ด้วยเหตุที่..." ความหมายว่า "ด้วยเหตุที่" ซึ่งเป็นสันธานเชื่อมความนั้น ภาษาอีสานใช้คำว่า "ย้อน" เช่น ในหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จะมีประโยคที่หลวงพ่อพูดถึงนักประดาน้ำคนหนึ่ง ที่จมน้ำตายไป ว่า "มันตายย้อนเหล้า" แปลว่า "มันตายเพราะเหล้า" นั่นเอง ถ้าใช้ "ย้อนว่า.." แล้วตามด้วยอนุประโยค ก็เหมือน "เพราะว่า.." ในภาษากลางนั่นแล ที่ใกล้เคียงกับ "ย้อน" ก็มีอีกคำ คือ "ขะหยอน" ขะหยอน [ขะหญอน] สัน. มิน่า(ล่ะ). ใช้เวลาที่รู้สาเหตุอะไรบางอย่าง ตัวอย่างเช่น "ขะหยอนเลาบ่ตื่นอิหยัง เลาฮู้แต่ดนแล้ว" (มิน่า แกไม่ตื่นเต้นตกใจอะไร แกรู้ตั้งนานแล้วนี่เอง) บางทีก็ตามด้วย "ล่ะ" เหมือน "มิน่าล่ะ" ในภาษากลางก็ได้ ว่าแล้วก็เลยย้อนมาพูดเรื่องหน่วยเสียง ย และ ญ สักนิด อย่างที่เคยเขียนถึงไปแล้ว ว่าเสียง ญ นั้น ตามหลักพยัญชนะวรรคแล

ภาษากลาง: ฝรั่ง

คนไทยเรียกคนผิวขาวว่า "ฝรั่ง" มานาน ดังจะมีสำนวนว่า "ฝรั่งมังค่า" หรือ "ฝรั่งตาน้ำข้าว" คำนี้ เคยมีเพื่อนฝรั่งสันนิษฐานว่า ชะรอยคนไทยจะรู้จักคนฝรั่งเศสเป็นชาติแรก โดยเพี้ยนคำว่า "ฟรองซ์" เป็น "ฝรั่ง" แต่มันก็ขัดกับข้อมูลที่เรารู้กันมา ว่าฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาติดต่อกับสยามคือโปรตุเกส ส่วนฝรั่งเศสเพิ่งจะเข้ามาในยุคท้ายๆ ของอยุธยา คือในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คนไทยรู้จักคนผิวขาวมานานกว่านั้น แต่จะว่าไป อิทธิพลฝรั่งเศสในสมัยพระนารายณ์ ก็ชวนให้คล้อยตาม ว่าถึงแม้จะไม่ใช่ชาติแรก แต่ก็อาจมีอิทธิพลมากพอก็เป็นได้ ก็เลยเก็บความสงสัยอยู่เรื่อยมา ก็พอดีมาเจอในหนังสือ อภิธานศัพท์คำไทยที่มีที่มาจากภาษาต่างประเทศ ของกรมศิลปากร (เล่มเดิมน่ะแหละ) บอกว่า คำว่า "ฝรั่ง" มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับว่า "ฟารานจิ" (Faranji) และแผลงเป็นคำว่า "ฟิริงกิ" (Firingi) ในภาษาเปอร์เซีย (โห.. ผิดคาดไปไกลเหมือนกันแฮะ) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า "ชาวยุโรปแรกเข้ามาอยู่ในประเ

ภาษาอีสาน: ไค

ไค ว. ดีขึ้น, ค่อยยังชั่ว. คำว่า "ไค" ในภาษาอีสานใช้ได้หลายอย่าง ที่ได้ยินกันบ่อยที่สุดคงเป็นวลี "ไคแหน่" แปลว่า "ค่อยยังชั่วหน่อย" เหมือนในเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง ว่าลุงคนหนึ่งทำงานโรงงานย้อมด้าย วันหนึ่งไปเที่ยวกรุง เดินเหนื่อยมาทั้งวัน เลยไปนั่งพักสั่งก๋วยเตี๋ยว พอได้ลงนั่งก็บิดขี้เกียจคลายเมื่อย บิดแขนบิดไหล่พลางว่า "อ้าห์.. ไคแหน่.." จิ๊กโก๋แถวนั้นเห็นอากัปกิริยาและคำพูด นึกว่าท้าทายถามว่า "ใครแน่" เลยลุกอาดๆ เข้าไปหาลุง ถามว่า "เฮ้ย มึงแน่มาจากไหน" ลุงก็ตอบประสาซื่อด้วยสำเนียงอีสานว่า "ย้อมด้าย" [ย่อมด้าย] "โห.. แน่จริงว่ะ ไม่ต้องพูดพล่ามทำเพลงมาก" จิ๊กโก๋นึกในใจ พลางประเคนหมัดเข้าที่ปลายคาง แล้วเรื่องต่อมาก็ตามสเต็ปของมุกคนอีสานโดนอัด ลุงแกตกใจอุทานว่า "อย่าทำข้อยๆ" จิ๊กโก๋ยิ่งเดือดว่าโดนท้าว่าอย่าทำค่อย เลยเป็นคราวซวยของลุงแก คำว่า "ไค" ยังใช้กับอาการที่ "ดีขึ้น" หรือ "ทุเลาลง" เช่น คนเริ่มสร่างไข้จะตอบคนที่ถามอาการว่า "ไคแล้วล่ะ" แปลว่

ภาษาใต้: เนือย

วันนี้กลับบ้านซักผ้าเสร็จก็หลับตื่นขึ้นมาตอนดึกจัดการลง LinuxTLE 7.0 บน Notebook คู่ใจ (ใช้อ่าวไทยมานาน) ลงเสร็จทดสอบโมเดมเข้ามาเล่นเน็ต ตีสองเกือบตีสาม ใครหว่า..ข้างบ้านเราทำกับข้าวอะไรกันป่านนี้ หอมจริงๆ หิวววมากวันนี้กินข้าวเหนียวหมูตอนบ่ายๆ ไม่ได้กินข้าวเลยทั้งวัน เลยเสนอคำว่า "เนือย" ซะเลย คำว่า "เนือย" แปลว่า "หิว" ครับ บางที่จะใช้คำว่า "บอบ" ดังนั้นก็อย่าสับสนนะครับ ตัวอย่างเช่น "ฮายเนือยข้าวจังหูนิ๊" หรือ "พี่หลวงบอบข้าวยังอะ?" บางครั้งจะเจอคำว่า "เนือย" ในความหมายทำนองว่า "หมดแรง" เช่น "เตินไปทำไหรมาอะแลเนือยๆจัง" ปล. เจอพี่เทพแซวมาว่า ภาษาใต้หายไปนานเลยวันนี้เลยฮึดมากลางดึกเลย

ภาษากลาง: การุญ, การุณย์, กรุณา

ขออนุญาตอ้างถึงการสุ่มตัวอย่างอย่างไม่ตั้งใจในประสบการณ์ตรง (คือจากสถิติการสะกดนามสกุลผมเองโดยบุคคลต่างๆ) พบว่า เกิน 80% ของกลุ่มตัวอย่าง สะกดคำว่า "การุญ" หรือ "การุณย์" ผิด โดยมักสะกดเป็น "การุณ" คาดว่าน่าจะสับสนกับคำว่า "กรุณา" คำว่า "การุญ" เป็นคำบาลี มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า การุญ, การุณย์ [การุน] น. ความกรุณา. (ป., ส.). ส่วนคำว่า "กรุณา" นั้น ก็หมายถึงความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เป็นหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ นั่นแล ซึ่งเราจะคุ้นกับคำนี้ในชีวิตประจำวันมากกว่า ในขณะที่ "การุญ" หรือ "การุณย์" จะเป็นภาษาเขียน ใช้ในบทกวีเสียเยอะ แต่อันที่จริง ทั้งสามคำก็มีความหมายเหมือนกัน เพียงแต่เป็นการผันคำแบบต่างๆ ในภาษาบาลีนั่นเอง (กรุณา + ณฺย ปัจจัยในภาวตัทธิต แล้วแปลงเป็น การุญฺญํ แปลว่า ความกรุณา --รายละเอียดอ่านในหนังสือบาลีไวยากรณ์ครับ ผมก็ไม่รู้เรื่องมากนัก) "...หากคุณ การุณย์ ก็ส่งรูปคุณให้ดูแทนหน้า ช่วยเซ็นรูปไป ว่ามอบด้วยใจสาวโรงทอผ้า..." อย

ภาษาอีสาน: อี่โตน, เหลือโตน; เก็บตกเรื่อง "เสี่ยว"

เมื่อวานไปเดินงานไหมวันสุดท้าย พ่อค้าแม่ค้าตามซุ้มต่างๆ หลายซุ้มเริ่มเลหลัง เพราะไม่อยากเหลือของกลับบ้าน โดยเฉพาะสินค้าที่มีอายุไม่มากอย่างพวกของกิน แต่บางเจ้าก็ไม่ได้อยากเลหลัง เพราะสินค้ายังเก็บได้นาน เอาไปขายงานอื่นต่อได้ แต่คนซื้อก็ยังพยายามต่อราคา ด้วยเห็นเป็นวันสุดท้าย จนมีเสียงตะโกนเล็ดลอดออกมาจากแม่ค้า "โอ้ย.. ซิให้หลูด(ลด)อีกปานใด๋ เหลือโตน(สงสาร)แม่ค้าแหน่ ให้กำไรกันจักหน่อยเถาะ.." คำว่า "เหลือโตน" หรือ "อี่โตน" ในภาษาอีสาน แปลว่า "สงสาร" หรือ "เห็นใจ" อย่างถ้าไปเห็นเด็กตัวเล็กๆ ตกระกำลำบาก แล้วรู้สึกสงสาร จะใช้คำว่า "อี่โตน" หรือ "เหลือโตน" ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะได้ยินคำว่า "อี่โตน" บ่อยกว่า เก็บตกงานไหมอีกสักหน่อย.. ข้อมูลจากคุ้มศิลปะวัฒนธรรมเกี่ยวกับประเพณีผูกเสี่ยว ทำให้ได้แง่คิด ว่าการเปรียบเทียบคำว่า "เสี่ยว" กับวัฒนธรรมอื่น อาจทำให้เข้าใจความหมายของคำนี้ได้ดีขึ้น เขายกตัวอย่างของ "เสี่ยว" ในประวัติศาสตร์ เช่น เมื่อสามกษัตริย์ คือพญามังราย พ่อขุนรามคำ

ภาษากลาง: ประทัด

มีคนจีนที่ไหน มีประทัดที่นั่น ความจริงแล้ว ดินปืนที่ใช้ทำประทัดนั้น ถือเป็นหนึ่งใน "สี่ประดิษฐ์" ชิ้นเอกของจีนโบราณที่มีอิทธิพลต่ออารยธรรมของโลก (สี่ประดิษฐ์ ได้แก่ เข็มทิศ กระดาษ ดินปืน และเทคนิคการพิมพ์) และไม่เป็นที่สงสัยว่า ประทัดนั้น ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยชาวจีน แต่คำว่า "ประทัด" ในภาษาไทยนั้น ไม่ได้มาจากภาษาจีน พระยาอนุมานราชธนได้อธิบายไว้ว่า "ประทัด" มาจากภาษามลายูว่า Petas [เปอะทัส] ซึ่งแปลว่า น้ำที่ปุดเดือดเป็นฟองขึ้นมา และแปลว่าประทัดด้วย แต่ในพจนานุกรมเล่มเก่าไม่มีคำว่า Petas มีแต่ Petus หรือ Pettus แปลว่า สายฟ้า คาดว่า Petas น่าจะเป็นคำที่เกิดใหม่ โดยวิวัฒน์มาจากคำเก่าที่แปลว่าสายฟ้า ส่วนข้อสันนิษฐานอีกข้อหนึ่งที่ว่า ประทัด น่าจะมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Petard ที่แปลว่า ปืนใหญ่ นั้น ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะความหมายไม่ตรงเท่า Petas ในภาษามลายู และประทัดก็แพร่หลายในชาวเอเชียมากกว่ายุโรป ขุนศิลปกิจจพิสัณห์ หมายเหตุไว้ว่า คำว่า petas นี้ มลายูรับมาจากฮินดูสตานีอีกต่อหนึ่ง ส่วนในภาษาจีน ต้นตำรับประทัดนั้น เรียกประทัดว่า 炮竹 [แต้จิ๋ว: เผ่าเต

ภาษาอีสาน: เรื่องพญาคันคาก

ขยายความเรื่อง "คันคาก" ในภาษาอีสานที่แปลว่า "คางคก" ที่วันก่อนเคยเขียนถึง ว่ามีนิทานพื้นบ้านเรื่อง "พญาคันคาก" อันเป็นต้นกำเนิดของประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นบุญเดือนหกในฮีตสิบสองคองสิบสี่ของชาวอีสาน ณ เมืองชมพู พระนางสีดา มเหสีของพญาเอกราชผู้ครองเมือง ได้ให้กำเนิดโอรสลักษณะแปลกประหลาด คือผิวกายเหลืองอร่ามดั่งทองคำ แต่เป็นตุ่มตอเหมือนผิวคางคก คนทั้งหลายจึงขนานนามพระกุมารว่า ท้าวคันคาก ซึ่งคันคาก แปลว่าคางคก เมื่อเติบใหญ่ขึ้น พระกุมารประสงค์จะได้พระชายาที่มีสิริโฉมงดงาม แต่พญาเอกราชได้ห้ามปรามไว้ ด้วยทรงอับอายในรูปกายของท้าวคันคาก แต่ท้าวคันคากก็ไม่ย่อท้อ ได้ตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากพระอินทร์ ด้วยบุญบารมีแต่ชาติปางก่อนของท้าวคันคาก พระอินทร์จึงเนรมิตปราสาทพร้อมทั้งประทานนางอุดรกุรุทวีป ผู้เป็นเนื้อคู่ให้เป็นชายา ส่วนท้าวคันคากเอง ก็ถอดรูปกายคันคากออกให้ กลายเป็นชายหนุ่มรูปงาม พญาเอกราชยินดีกับพระโอรส จึงสละราชบัลลังก์ให้ครองเมืองต่อ ทรงพระนามว่า พญาคันคาก พญาคันคากตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม มีเดชานุภาพเป็นที่เลื่องลือ จนเมืองน้อยใหญ่ต่างมาสวามิภ

ภาษากลาง: ถั่วลันเตา

ชื่อ "ถั่วลันเตา" ฟังทีแรกดูคล้ายกับภาษาแขกชวามลายู แต่แท้ที่จริง มีที่มาจากภาษาจีนว่า 荷蘭豆 [แต้จิ๋ว: ห่อลังเต่า] แปลตามตัวอักษร 荷蘭 แปลว่า "ฮอลแลนด์" หรือ "ฮอลันดา" ส่วน 豆 คือ "ถั่ว" (คำเดียวกับ "เต้า" ใน "เต้าหู้", "เต้าฮวย", "เต้าส่วน", "เต้าทึง" นี่แหละ) รวมความเป็น "ถั่วฮอลแลนด์" จากภาษาจีน พอแปลงเป็นภาษาไทย ทิ้งคำหน้าไปหนึ่งคำ เหลือ "ลันเตา" แล้วก็เติมคำว่า "ถั่ว" ข้างหน้าบอกสกุลเสีย ก็กลายเป็นถั่วลันเตา แทบไม่เหลือร่องรอยความหมายเดิม บ๊ะ.. แปลงโฉมได้แนบเนียนแท้ อ้างอิง: ชอบ ประพันธ์เนติวุฒิ. "วิชานิรุกติศาสตร์ เรื่องภาษาจีน (ฉบับที่ ๑-๓)." คำบรรยาย ภาษาไทยขั้นสูง ของ ชุมนุมภาษาไทย ของคุรุสภา. คุรุสภา ๒๕๐๙. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒.

ภาษาอีสาน: งาย กับ ส๎วาย

คั่นรายการรวมมิตร ให้ webmaster ชาวถิ่นได้พักหายใจหน่อยดีกว่า เผอิญว่าไปได้ข้อมูลใหม่มาจากคุ้มวัฒนธรรมในงานเทศกาลไหม เกี่ยวกับคำว่า "งาย" กับ "ส๎วาย" [สวย] โดยในแผ่นพับเกี่ยวกับ "พาแลง" อธิบายว่า.. "คำว่า 'แลง' หมายถึง เวลาเย็นจนถึงหัวค่ำ ถ้าเวลาก่อนเที่ยง ภาษาถิ่นจะเรียกว่า 'งาย' หรือ 'เวลางาย' ถ้าเป็นเวลาเที่ยงถึงก่อนเย็นหรือค่ำ เรียกว่า 'สวย' หรือ 'เวลาสวย' เวลารับประทานอาหารตั้งแต่เช้าถึงก่อนเที่ยง เรียกว่า 'กินข้าวงาย' ตั้งแต่เที่ยงไปจนถึงก่อนค่ำ เรียกว่า 'กินข้าวสวย' ถ้าตั้งแต่ค่ำหรือเย็นไปจนถึงกลางคืน เรียกว่า 'กินข้าวแลง'" ซึ่งเท่ากับว่า 'เวลาสวย' หมายถึงตอนบ่าย ไม่ใช่ตอนสาย แต่เวลาสายจะเรียก 'เวลางาย' แต่เมื่อสอบถามคนอีสานที่รู้จัก ไม่มีใครเข้าใจอย่างนี้เลย ต่างเข้าใจว่า 'เวลาสวย' หมายถึงตอนสายทั้งนั้น แต่ 'กินข้าวงาย' หมายถึงมื้อเช้า และ 'กินข้าวสวย' หมายถึงมื้อเที่ยง อันนี้ตรงกัน ส่วน 'กินข้าวแลง' นั้น หมายถึง

รวมมิตร: แมลงและตัวอ่อนของแมลง

แมลงเป็นสัตว์ที่มีจำนวนสปีชีส์มากที่สุด จึงน่าจะมีคำท้องถิ่นเรียกเยอะแยะ รวมทั้งตัวอ่อนของแมลงก็ยังมีชื่อเรียกต่างหากอีก แมลง กลาง เหนือ อีสาน ใต้ แมลงปอ กำปี้ แมงกะบี้, แมงคันโซ้ แมงปอ ผีเสื้อ กำเบ้อ แมงกะเบื้อ แมงพี้,แมงบี้ กว่าง กว่าง แมงคาม - แมงป่อง แมงป่อง แมงงอด แมงปอง แมลงทับ แมงตับ (ทอง) แมงคับ แมงพลับ จิ้งหรีด จะหีด, จิ้งหรีด, จะหรีด จิ้งหรีด, แมงจี่นาย, แมงจี่หล้อ [หล่อ] - จิ้งโกร่ง - แมงจี่ป่ม - แมงกินูน แมงนูน แมงกินูน - ด้วงขี้ควาย - แมงกุดจี่ จู้จี้ขี้ควาย แมลงกระชอน แมงจอน แมงซอน, แมงกิซอน แมงชอน กิ้งกือ แมงขี้เต๋า, แมงแสนตี๋น แมงบ้งกือ จิ้งกือ,ผ้ึงกือ ตัวอ่อนของแมลง ้ กลาง เหนือ อีสาน ใต้ ลูกน้ำ - แมงง้องแง้ง - ตัวไหม - แมงหม่อน - บุ้ง แมงบ้ง แมงบ้ง - หมายเหตุ ภาษาอีสาน: ไม่มีคำว่า "แมลง" มีแต่ "แมง" อย่างเดียว

รวมมิตร: สัตว์จตุบาท

สัตว์น่าจะเป็นหมวดที่มีคำเรียกภาษาถิ่นต่างกันมาก ขอเริ่มจากสัตว์จตุบาท (สัตว์สี่เท้า) ก่อน กลาง เหนือ อีสาน ใต้ จิ้งจก จั๊กกิ้ม ขี้เกี้ยม - ตุ๊กแก โต๊กโต กับแก้ ตับแก(บางถิ่น) กิ้งก่า จั๊กก่า (ขี้)กะปอม จิ้งกา,ผึ้งกา คางคก - (ขี้)คันคาก - จระเข้ - แข้ เข้ วัว งัว งัว งัว เก้ง - ฟาน - พังพอน - จอนฟอน - ชะมด - - มดสัง จิ้งเหลน - ขี้โกะ - ตะกวด - แลน กวด,แลน หมายเหตุ ภาษาอีสาน: สังเกตว่าจะใช้คำว่า "ขี้" กับสัตว์ประเภทหนึ่ง ส่วนมากเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ บางคำจะใช้ "ขี้" นำหน้าหรือไม่ก็ได้ เช่น "คันคาก" หรือ "ขี้คันคาก" ก็หมายถึงคางคกเหมือนกัน สำหรับ "คันคาก" นี้ มีนิทานพื้นบ้านอีสาน เรื่อง "พญาคันคาก" ซึ่งเกี่ยวข้องกับตำนานกำเนิดบุญบั้งไฟ ไว้มีโอกาสค่อยเขียนต่างหาก