บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2547

รวมมิตร: ผลไม้

จะเว้นไม่กล่าวถึงชื่อผลไม้ในภาษาถิ่นก็กระไรอยู่ เลยอยากชวนคนเหนือคนใต้มาร่วมกันทำตารางคำเรียกชื่อผลไม้ในภาษาถิ่น (เอาเฉพาะคำที่ไม่เหมือนหรือคล้ายภาษากลาง) ขอเริ่มจากที่นึกได้ก่อนละกัน เพิ่มรายการได้ตามสะดวกนะครับ (edit post เอาแบบ wiki เลย) กลาง เหนือ อีสาน ใต้ ตะวันออก ฝรั่ง หมะก้วย,หมะมั่น,หมะแก๋ว หมากสีดา ย่าหมู,ชมพู่ - น้อยหน่า น้อยแน้ หมากเขียบ - - มะละกอ หมะก้วยเตด หมากหุ่ง ลอกอ - สับปะรด หมะขนัด หมากนัด สับรด,ยานัด,มะลิ สัมมะรด,ลักกะตา ขนุน หมะหนุน หมากมี้ [มี่] หนุน - ฟักทอง - หมากอึ น้ำเต้า - พุทรา หมะตัน หมากทัน - - ชมพู่ - - น้ำดอกไม้ - ละมุด หมะมุด - มุดหรั่ง,สวา - ฟัก - - ขี้พร้า - มะม่วงหิมพานต์ - - หัวครก,เล็ดล่อ,ยาร่วง,กาหยู - หมายเหตุ ภาษาอีสาน: ใช้คำว่า "หมาก" หรือ "บัก" เรียกผลไม้ เช่น หมากม่วง หรือ บักม่วง หมายถึงม

ภาษาใต้ : เรื่องของเหล็กๆ

วันนี้โหนรถเมล์มารถติดอีกยืนกันเมื่อย... ระหว่างที่ยืนก็นึกถึงศัพท์ภาษาใต้ ตอนนั้นนึกถึงคำว่า "เหล็กโคน" เดี๋ยวเฉลยครับ ...เลยนึกได้ว่ามีคำที่เกี่ยวกับ "เหล็กๆ" อีกหลายตัวที่จำได้ ออ คำว่า "เหล็ก" ออกเสียงว่า "เล็ก" ส่วนคำว่า "เล็ก" ออกเสียงว่า "เหล็ก" มาดูกันดีกว่าครับว่ามีเหล็กอะไรกันบ้าง - เหล็กขูด หมายถึง กระต่ายขูดมะพร้าว - เหล็กโคน หมายถึง ตะปู - เหล็กไฟ หมายถึง ไม้ขีด - เหมียเหล็ก หมายถึง ผู้หญิงแก่นๆ นึกได้แค่นี้ครับ .. บางคำถิ่นอื่นอาจไม่รู้จักนะครับ

ภาษาไทยกลาง: มักกะสัน

ชื่อแขวง "มักกะสัน" ในเขตพญาไท ชวนให้สงสัยมานาน ว่ามีความหมายว่าอะไรกันแน่ ถามๆ กัน ก็มีบางคนอำกันเล่นๆ ว่า มีตามักกับตาสันเป็นเพื่อนกัน ฯลฯ เป็นเรื่องเป็นราว แต่ก็จบด้วย "ล้อเล่นนะ" สรุปว่ายังเป็นปริศนาตลอดมา จนวันนึง ผมได้รู้จักกับพระเจ้า ..เฮ่ย ไม่ใช่ (ดูโฆษณาบ่อยไปมั้ง) จนได้มาพบหนังสือ "อภิธานศัพท์ คำไทยที่มีต้นเค้ามาจากภาษาต่างประเทศ" ของกรมศิลปากร กล่าวอ้างคำจำกัดความตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ว่า "เป็นชื่อชนชาติชาวอินโดนีเซียในมะกัสซาร์ตอนใต้ของเกาะเซลีเบส" ส่วนฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ขยายคำจำกัดความอีกว่า มักกะสัน น. ชื่อชนชาติชาวอินโดนีเซียในมะกัสซาร์ตอนใต้ของเกาะเซลีเบส, โดยปริยายหมายความว่า มีรูปร่างใหญ่โต ดุร้าย น่าเกลียดน่ากลัว เช่น รูปร่างอย่างกับยักษ์มักกะสัน. หนังสือสาธยายต่อไปว่า.. "..มะกัสซาร์ เป็นเมืองท่าสำคัญ มีชื่อตามภาษาอินโดนีเซียว่า สุลาเวสี ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อูจุงปันดัง" พวกมักกะสันส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เดิมอยู่ในปกครองของโปรตุเกส ต่อมาเมื่อพวกฮอลันดาเข้

ภาษาอีสาน: เสี่ยว, หมู่, ซุม

อีกสักคำที่คนภาคกลางเอามาใช้ในความหมายที่เปลี่ยนไป คือคำว่า "เสี่ยว" เสี่ยว น. เพื่อนรัก, เกลอ. ความจริงแล้ว "เสี่ยว" ในภาษาอีสาน มีความหมายสองระดับ ถ้าเป็น "เสี่ยว" ตามประเพณีพื้นบ้านนั้น คนที่เป็นเพื่อนรักกันขนาดตายแทนกันได้ จะเข้าพิธี "ผูกเสี่ยว" คือผูกข้อมือ บายศรีสู่ขวัญ ตกลงเป็น "เสี่ยว" กัน คือใครมีเรื่องเดือดร้อน ก็จะช่วยเหลือกัน ลูกของตัวก็อาจจะยก "เสี่ยว" เป็นพ่อทูนหัว/แม่ทูนหัว อะไรประมาณนั้น แต่ "เสี่ยว" ก็มีความหมายในระดับทั่วไปด้วย คือบางทีคนที่เป็นเพื่อนสนิทกันโดยไม่ได้เข้าพิธีผูกเสี่ยว ก็อาจจะเรียกเพื่อนว่า "เสี่ยว" ก็ได้ ซึ่งจะมีความสนิทสนมกว่าอีกคำหนึ่งที่หมายถึงเพื่อนฝูงโดยทั่วไป: หมู่ น. เพื่อน; กลุ่ม, พวก. คำว่า "หมู่" ความหมายแรก ใช้เหมือนคำว่า "เพื่อน" ตามปกติในภาษาไทยกลางทุกประการ "เฮาเป็นหมู่กัน" ก็หมายถึง "เราเป็นเพื่อนกัน" ถ้าไม่กล้าไปที่ไหนคนเดียว ก็อาจจะชวนคนอื่น "ย่างไปเป็นหมู่" คือ "เดินไปเป็นเพื่อน&

ภาษาไทยกลาง: ดอกทอง

เกรงผู้อ่านจะเอียนกลิ่นปลาแดกซะก่อน ขอสลับด้วยภาษาไทยกลางบ้าง วันนี้ขอเสนอคำว่า "ดอกทอง" ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้ว่า: ดอกทอง น. หญิงใจง่ายในทางประเวณี (เป็นคำด่า). แต่คำนี้ ชวนให้สงสัย ว่าทำไมถึงกลายเป็นคำด่า ทั้งๆ ที่แต่ละคำที่มาประสมกันก็มีความหมายดี และนาง "สุวรรณมาลี" ในเรื่องพระอภัยมณี ก็ไม่ได้เป็นหญิงเช่นว่า หลังจากนึกตามประสบการณ์ทางภาษาของตัวเอง ก็สรุปว่า คำนี้น่าจะมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "หลกท่ง" ซึ่งเป็นคำด่าที่มีความหมายตามตัวอักษรที่แสบสัน แปลว่า "แดงเหมือนเหล็กเผาไฟ" ใช้กับหญิงที่มักมากในกามารมณ์ ที่ใช้คำว่า "ความหมายตามตัวอักษร" ก็เพราะว่า คนจีนแต้จิ๋วนั้น ชอบใช้คำพูดโผงผาง บางครั้ง การใช้คำด่ากับลูกหลาน ก็เป็นการแสดงความเอ็นดู เหมือนในหนังจีนจะได้ยินคำว่า "เด็กโง่" อยู่เรื่อย คำว่า "หลกท่ง" นี้ ก็อาจจะใช้ตอนที่เห็นลูกสาวหรือหลานสาวแสดงกิริยาม้าดีดกะโหลก แล้วรู้สึกมันเขี้ยว อยากอบรม ดังนั้น ลูกหลานจีนจะคุ้นกับคำด่าประเภทนี้ และคำอื่นๆ อีกมากมาย (ไว

ภาษาใต้: หรอย ...

หรอย: (ก., ว.) อร่อย, เอร็ดอร่อย ตัวอย่าง: แกงเทกหมูหรอย ผมชอบกินของหรอยๆ คำแปล: แกงกระทิหมูอร่อย (ก.) ผมชอบกินของอร่อยๆ (ว.) คำนี้อาจะได้ยินกันบ่อยๆ เป็นคำที่กร่อนมากจาก อร่อยในภาษาถิ่งภาคกลาง เนื่องจากลักษณะภาษาของภาคใต้จะตัดคำหรือวลีออกแต่ให้เหลือแต่คำ หรือวลีที่เน้นเสียง แต่ยังคงความหมายเหมือนเดิม (บางที้ต้องดูบริบท หรือ สภาพสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ตามสถานการณ์ ขณะนั้น) สาเหตุที้ต้องมีการตัดคำทิ้ง(ทำให้ดูเหมือนหยาบกระด้าง ทางภาษาไม่เพราะ เหมือนภาษาถิ่นภาคอื่นๆ) เกิดจากลักษณะภูมิประเทศ (ข้อสันนิฐานอย่างหนึ่ง) ที่ภาคใต้ถูกขนาบข้างด้วยทะเลทั้งผังอ่าวไทย และอันดามัน ทำให้เกินกระแสลม ที่ค่อยข้างแรง ทำให้การสื่อสารต้องรวบรัด ตัดสิ่ง(ที่คิดว่า)ไม่สำคัญหรือ มีผลต่อ ต่อการสีือสารน้อยออกไป ภาษาถิ่นภาคใต้แม้จะไม่เพราะ( แต่ได้เนื้หาครบถ้วน ตรงตามความประสงค์ของ ผู้สือสาร) เลยทำให้คนถิ่นอื่นอาจจะเห็นว่าคนใต้เป็นคนมุมะลุขวานผ่าซาก แต่จริงๆ แล้วคนใต้ไม่ได้ใจดำหรือแล้งน้ำใจอย่างที่คิดนะครับ แต่เป็นคนตรงๆ ซื่อๆ มากกว่าครับ :> - itga

ภาษาอีสาน: แซบ, นัว

เห็นโฆษณาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้งแล้วขำๆ งงๆ มีคนทำท่าเผ็ดซี้ดซ้าดแล้วก็บอกว่า "แซบร้อน แซบลึก" ฟังแล้วก็ อืม.. อารมณ์นั้นอาจจะพูดว่า "แซบ" ได้อยู่ แต่คำอื่นประเภท "เผ็ด" หรือ "ร้อน" อะไรพวกนี้จะตรงกับอารมณ์ที่จะสื่อกว่า ยิ่งเอาคำว่า "แซบ" มาเป็นสโลแกนเน้นความเผ็ด เอาดารามาออกท่าออกทางอย่างมั่นใจแล้ว ก็ให้นึกไปถึงโฆษณาเหล้านอกยี่ห้อหนึ่ง ดูเหมือนยี่ห้อเป็นรูปอัศวินขี่ม้า เอาฝรั่งที่ไหนไม่รู้มาทำท่ามั่นอกมั่นใจ แต่ตกม้าตายตรงกระแดะพูดไทยแปร่งๆ "ดายแหล่งอ๊อก" ฟังไม่รู้เรื่อง ทำไมถึงบอกว่าการเอาคำว่า "แซบ" มาเป็นสโลแกนบะหมี่ต้มยำกุ้งเพื่อเน้นความเผ็ด มันดูขำๆ คล้ายๆ กัน? ก็เพราะคำว่า "แซบ" เป็นคำอีสานที่มีความหมายธรรมดามาก: แซบ ว. อร่อย กล่าวคือ อะไรที่อร่อย ใช้ "แซบ" ได้ทั้งนั้น ทั้งของหวานของคาว ไปกินไอติมบอกว่า "ไอติมแซบ" ก็ใช้ได้ ลองนึกภาพคนกินต้มยำกุ้งเผ็ดๆ แล้วสูดปากทำท่าได้อารมณ์ แล้วพูดแค่คำว่า "อร่อย" ดูสิ จะเข้าใจว่าผมหมายความว่ายังไง (คือมันก

ภาษาใต้: หนักแรง ...

หนักแรง: (ก.) อาการแล้งน้ำใจ ตัวอย่าง: ฮ่าย มึ๊งหนักแรงเกิน ไม่ช่วยเพื่อนขนของมั้ง คำแปล: เองน่ะ ไม่มีน้ำใจเลยน่ะ ไม่ยอมช่วยเพื่อนขนของบ้าง แนะนำให้เอาไปใช้กับคนที่สนิทๆ กันน่ะครับ จะได้พูดอย่างสะดวกใจ บก. มาทวง :P เห็น ภาษาถิ่นอีสาน Post บ่อยกว่า - itga

ภาษาอีสาน: โดน, พ้อ, เทื่อ, แหล้

ได้พูดถึงเพลงแล้ว เลยนึกถึงเพลงที่ร้องกันตามงานชุมนุมรอบกองไฟ: โดนๆ พ้อกันเทื่อหนึ่ง ตกตะลึงสวยแท้งามแท้ แต่ก่อนทั้งดำทั้งแหล้ (ซ้ำ) เดี๋ยวนี้งามแท้ทั้งแหล้ทั้งดำ ไล่ทีละคำ (อย่าลืมว่าการผันวรรณยุกต์ไม่เหมือนภาษากลาง) โดน ว. นาน. ไม่มีอะไรพิเศษ ใช้เหมือนคำว่า "นาน" ในภาษากลางทุกประการ เช่น "ท่าตั้งว่าโดน" แปลว่า "รออยู่ตั้งนาน" พ้อ [ผ้อ] ก. พบ, เจอ. ใช้ทั้งกับการพบปะกัน และการหาสิ่งของพบ มีเกร็ดอย่างหนึ่งคือคำว่า "ปะ" [ป๋ะ] ในภาษาอีสาน แปลว่า "ทิ้ง" หรือ "หย่าร้าง" เช่น "ปะลูกไว้เฮือนผู้เดียว" หมายถึง "ทิ้งลูกไว้บ้านคนเดียว" สามีภรรยา "ปะกัน" ก็หมายถึงหย่ากัน แต่ในภาษากลาง "ปะ" กลายเป็นคำซ้อนของคำว่า "พบปะ" แล้วก็เลยทำให้ "ปะ" มีความหมายว่า "เจอ" (แทนที่จะเป็น พบแล้วจาก ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป) ซึ่งอาจเป็นแค่ความบังเอิญก็ได้ เพราะ "ปะ" มีอีกความหมายหนึ่ง ว่าเอามาเจอกัน เช่น "ปะผ้า" อยู่แล้ว เทื่อ [เท

ภาษาอีสาน: ออนซอน

เกี่ยวเนื่องมาจากคำว่า "สะออน" มีอีกคำที่คล้ายกันจนใช้ปนกันบ่อยๆ คือ "ออนซอน" ผมเองก็ยอมรับว่าความหมายของคำนี้ค่อนข้างเบลอสำหรับผม เพราะเป็นคำที่มักใช้ในอาการชื่นชม เช่น "ออนซอนเด", "ออนซอนหลาย" จนชวนให้คิดว่า "ออนซอน" แปลว่าชื่นชอบ คล้ายกับ "สะออน" และหลายคนก็มีความเข้าใจกันว่าอย่างนั้น แต่จำได้ว่าเคยเรียนในสมัยมัธยม ว่า "ออนซอน" นี้ เป็นคำที่แผลงมาจาก "อรชร" ที่แปลว่า "งาม" เมื่อคิดตามดั่งนี้ โดยเอาคำว่า "งาม" ใส่เข้าไป กลายเป็น "งามจริง", "งามมาก" มันก็กลายเป็นคำชื่นชม หากแต่เราไปจับเอากิริยาชื่นชมมาเป็นความหมาย เลยเกิดอาการเพี้ยนความหมายไป อีกครั้งหนึ่งที่ได้ยืนยัน ก็ตอนที่มีโอกาสเข้าไปพบ พจนานุกรมภาษาอีสาน ที่หอสมุดแห่งชาติ เปิดคำว่า "ออนซอน" ก็แปลว่า "งาม" แต่นั่นก็นานมาแล้ว ผมอาจจะจำเพี้ยนก็ได้ จึงยังไม่มั่นใจ จนกระทั่งได้แหล่งอ้างอิงเป็น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ทั้งฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ และ ๒๕๔๒ ฉบับ ๒๕๒๕: ออนซอน

ภาษาอีสาน: สะออน, มัก, ฮัก

เพื่อให้เข้าบรรยากาศคาราโอเกะของ MrChoke วันนี้ขอเสนอคำว่า "สะออน" :-) สะออน ก. ชมชอบ ชอบใจ ก็หัวใจเจ้ากรรม ชอกช้ำแล้วยังชอบลอง ก็ว่ากันตามทำนอง ของคนหัวใจสะออน เพลงที่พี่แอ๊ดแต่งให้อัสนี-วสันต์ ชวนให้สงสัยว่า "หัวใจสะออน" เป็นยังไง "สะออน" เป็นภาษาอีสาน แปลว่า นิยมชมชอบ อย่างถ้ามีใครคลั่งไคล้อะไรจนเข้าเส้น ก็อาจจะมีคนล้อว่า "สะออนหลายน้อ" หมายถึง "ชอบจริงนะ ปลื้มซะเหลือเกิ๊น!" อะไรประมาณนี้ อีกตัวอย่างคือ เว็บ สะออนอีสาน เป็นเว็บของคนนิยมชมชอบศิลปวัฒนธรรม ภาษาและวิถีชีวิตของคนอีสาน แถมอีกสองคำ ชุดนี้ได้มาจากคำพูดของพ่อว่า "มักแม่ แต่ฮักลูก" มัก ก. ชอบ ฮัก ก. รัก "มัก" จะมีความหมายใกล้เคียงคำว่า "ชอบ" เช่น "ของมัก" ก็หมายถึง "ของชอบ" หรือ "ของโปรด" ถ้าจะ "มัก" ใครสักคน ก็หมายถึง "ชอบ" เขาฉันชู้สาว "ฮัก" หมายถึง "รัก" โดยทั่วไป เหมือนเพื่อนรักเพื่อน พ่อแม่รักลูก

ภาษาใต้ : หัวใจพรือโฉ้ ...

เมื่อวาน (เมื่อคืนนี้ 19 พ.ย.) ได้มีโอกาสไปร่วมงาน MozParty2 เนื่องในโอกาส ปล่อย FireFox 1.0 และได้ร้องเพลงหากิน "หัวใจพรือโฉ้" เลยนำมาเฉลยข้อสงสัยให้ฟังกันนะครับ เพราะหลายๆ คนร้องเพลงนี้ได้แต่ยัง งงๆ ว่าจริงๆแล้วแปลว่าอะไร ถ้ารู้ความหมายก็จะสนุกไปกับเพลง " พรือโฉ้" : บางท้องถิ่นก็อาจจะเป็น พรือฉู้ หรือ พรือโจ้ ก็ได้แล้วแต่นะครับ คำว่า "พรือโฉ้" เป็นอาการอย่างหนึ่งที่ไม่ปกติ คือรู้สึกแปลกๆ แบบอธิบายไม่ถูก เช่น "กินเอมเกินมึนหัวพรือโฉ้เลย" หมายถึง "กินอิ่มเกินไปรู้สึกมึนศรีษะยังไงบอกไม่ถูก" "หัวใจพรือโฉ้" : อาการแปลก ๆ หัวใจเต้นตุ๊บๆ ปากซีด มือเย็น พูดตะกุกตะกัก มักใช้เวลาเจอผู้หญิงที่ตัวเองชอบ หรือ ปิ๊งๆ อ๋อ.. ใช้กับผู้หญิง ก็ได้นะครับ ส่วนเนื้อหาในเพลง ก็มีศัพท์ที่พอจำได้อยู่ เช่น "รักหยบๆ" คำนี้เสนอไปครั้งหนึ่งแล้ว หยบ "รักกลมเดี้ยน" : กลมเดี้ยน หมายถึงมากๆ ในที่นี้คือ รักมากๆ "อยู่โม๊ะ" : คำนี้เขียนอยากจัง แปลว่า ไม่หล่อ ไม่สวย นะครับ "เข้าไปแค่" : "แค่&

ภาษาใต้: ผ้าชุบ ...

ผ้าชุบ: (น.) ผ้าขาวม้า ตัวอย่าง: บ่าวแดง เตินลืมผ้าชุบไว้เท่เรินผมนุ แรกวา คำแปล: พี่แดง พี่ลืมผ้าขาวม้าเอาไว้บ้านผมน่ะเมื่อวานนี้ ผ้าขาวม้า ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่เป็นภาษาเปอร์เซีย ที่มีคำเต็มว่า "กามาร์บันด์" (Kamar band) "กามาร์" หมายถึง เอว หรือ ท่อนล่างของร่างกาย "บันด์" แปลว่า พัน รัด หรือ คาด เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกัน จึงหมายถึง เข็มขัด ผ้าพัน หรือ คาดสะเอว คำว่า "กามาร์บันด์" ยังปรากฎอยู่ในภาษาอื่นๆอีก เช่น ภาษามลายู มีคำว่า "กามาร์บัน" (Kamarban) ภาษาฮินดี้มีคำว่า "กามาร์บันด์" (Kamar band) และ ในภาษาอังกฤษมีคำว่า "คัมเมอร์บันด์" (Commer band) หมายถึง ผ้ารัดเอว ในชุดทัคซิโด้ (Tuxedo) ซึ่งเป็นชุดสำหรับออกงานราตรีสโมสร จากงานวิจัย เรื่อง "ผ้าขาวม้า" ของ อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่าง อธิบายไว้ว่า "ผ้าขาวม้า" เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า "กามา" (Kamar) ซึ่งเป็นภาษาอิหร่านทีใช้กันอยู่ที่ประเทศสเปน เข้าใจว่าสเปนเอาคำว่า "กามา" ของภาษาแขกไปใช้ด้วย เพราะในประวัติศาสตร์ ประเทศทั

ภาษาอีสาน: ข้อยเป็นอีสาน บ่แม่นลาว

เห็นหลายคนชอบบอกว่าภาษาอีสาน คือภาษาลาว แม้แต่คนอีสานเองก็บอกว่าตัวเอง เว่าลาว ฮ่วย! อีสานบ่แม่นลาว แค่คล้ายๆ กัน ไหนๆ ก็ว่าเหมือนกันแล้ว เลยลองยกตัวอย่างว่าภาษาอีสาน กับภาษาลาว ที่ว่าเหมือนกัน มันเหมือนกันยังกะจะเป็นแกะจริงๆ จากหนังสือ ສະເໜພາສາລາວ(เสน่ห์ภาษาลาว) ของพิษณุ จันทร์วิทัน มาดูว่ามีคำไหนที่ภาษาอีสานและภาษาลาวเหมือนกันบ้าง เถิง, ฮอด แปลว่า ถึง เช่น ส่งหนังสือเถิง, คิดฮอด หรือไปฮอด เป็นต้น เข้าเปียก แปลว่า ข้าวต้ม แว่นแยง แปลว่า กระจกส่องหน้า แว่น แปลว่า กระจก (ไม่ได้หมายถึงแว่นตา) สู้ซน แปลว่า ต่อสู้กับอุปสรรค ภูดอย แปลว่า ภูเขา แต่งดอง แปลว่า แต่งงาน ฮัก แปลว่า รัก ปด แปลว่า ปลด เกิบ แปลว่า รองเท้า (ปดเกิบ ก็ถอดรองเท้า) ฮ้าย แปลว่า ดุ, ร้าย (ระวังหมาฮ้าย คือระวังหมาดุ แต่ในภาษาอีสานยังไม่เห็นใช้หมาฮ้าย) บ่อน แปลว่า ที่ บ่อนนั่ง ก็คือ ที่นั่ง ดน แปลว่า นาน บ่ดน แปลว่าไม่นาน เทือ แปลว่า ครั้ง หว่างแล้ว หมายถึง ช่วงที่ผ่านมา โส้ง แปลว่า กางเกง แต่ภาษาอีสานจะออกเสียงเป็น ส่ง

ภาษาอีสาน: ส๎วาย, แลง

ส๎วาย [สวย] น. เวลาสาย ว. ล่าช้า คำว่า "ส๎วาย" * ออกเสียงตัวควบกล้ำ ว กับสระอาลดลงเป็นสระอัวว่า "สวย" แปลว่า "สาย" ใน "ตอนสาย" ในภาษาไทยกลาง (ไม่รวมคำว่า "สาย" ใน "สายไฟ" คำนั้นสะกดและออกเสียงว่า "สาย" เหมือนกันในภาษาอีสาน) ดังนั้น ถ้าคุณผู้หญิงไปถึงงานเลี้ยงที่อีสานแล้วมีคนทักว่า "คือมาสวยแท้" อย่าเพิ่งรีบยิ้มตอบขอบคุณไปล่ะ เขากำลังหมายถึงว่า ทำไมคุณมาสายจัง ถ้าเขาจะชมว่าสวย มักจะใช้คำว่า "งาม" มากกว่า มีเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับวัวแก่อยากกินหญ้าอ่อน ยืนคุยกับพ่อแม่ของหญิงสาวแล้วก็เปรยมาทางหญิงสาวที่นั่งทอผ้าอยู่ข้างๆ ว่า "นังหนูนี่เกิดมาสวยนะ" เธอสวนคำกลับมาว่า "บ่แม่นค่ะ หนูเกิดตอนแลง" แลง น. เวลาเย็น _____ * คำว่า "ส๎วาย" นี้ ภาษาลาวสะกดว่า "สวาย" จึงอ้างอิงตามนั้น แต่ใส่ยามักการเพื่อกำกับตัวควบกล้ำ ไม่ให้สับสนกับ "ปลาสวาย"

ภาษาใต้ : คำสรรพนามที่รู้จัก..

วันนี้ลองรวบรวมคำสรรพนามที่ผมจำได้และรู้จักมาเขียน (ท้องถิ่นสุราษฏร์ธานี) คำกลาง คำใต้ หมายเหตุ ฉัน ฉาน เพื่อนๆ หรือ สูงวัยกว่าก็ได้ . นุ้ย เด็กๆ แทนตัวฟังแล้วน่ารัก . บ่าว เด็กชายจะใช้แทนตัว น่ารักอีกเช่นกัน . เรา เพื่อนๆ ถ้าไม่สุภาพนักพูดกับคนสูงวัยกว่าก็ได้ คุณ เติน มักเรียกคนสูงวัยกว่า . หมัน,เขา เรียกเพื่อนๆ . สู ทั่วๆ ไป

ภาษาอีสาน: หน่วยเสียงในภาษาอีสาน

เพื่อความสนุกในการอ่าน คิดว่าน่าจะพูดถึงการออกเสียงสำเนียงอีสานนิดนึง ผมขออ้างอิงสำเนียงขอนแก่นละกัน ทราบมาว่าท้องถิ่นต่างๆ จะออกเสียงไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะเสียงวรรณยุกต์ ตัวเขียนของภาษาอีสานดั้งเดิม จะใช้ อักษรไทน้อย ซึ่งมีรากเดียวกับอักษรลาวในปัจจุบัน และ อักษรธรรม ซึ่งน่าจะมีรากร่วมกับอักษรธรรมล้านนา (อักษรธรรม มักใช้ในคัมภีร์ทางศาสนา) แต่ปัจจุบันหาคนรู้อักษรทั้งสองแบบนี้ได้ยากแล้ว จะหาหลักฐานได้ก็แต่จากจารึกโบราณเท่านั้น ดังนั้น การศึกษาตัวสะกดภาษาอีสาน จึงน่าจะดูได้จากภาษาลาวปัจจุบันแทน แต่อักขรวิธีของลาวก็ได้ผ่านการปฏิวัติครั้งใหญ่มาแล้วครั้งหนึ่ง จึงอาจอ้างได้ไม่เต็มที่นัก (หากมีโอกาส คิดว่าจะศึกษาอักษรไทน้อยและอักษรธรรมดูบ้าง ข่าวดีคือ มีผู้พัฒนา ฟอนต์ อักษรไทน้อยและอักษรธรรมมาให้ใช้แล้ว มี โรงเรียน สอนด้วย) ในที่นี้จะพยายามเขียนโดยอ้างอิงอักขรวิธีลาวเท่าที่จะทำได้ โดยใช้อักษรไทยนี่แหละ ในที่นี้ ขอเรียก "ภาษากรุงเทพฯ" แทนภาษาไทยกลาง เพราะท้องถิ่นอื่นในภาคกลางก็มีสำเนียงต่างจากกรุงเทพฯ ภาษาอีสาน มีหน่วยเสียงพยัญชนะที่ต่างจากภาษากรุงเทพฯ ดั

ภาษาใต้: ดักดุเดียม ...

ดักดุเดียม, ดั่กอีเดียม: (ก.) จั๊กกะจี้ ต้วอย่าง: อย่าคลำแขนได้ม่ายนิ ดักดุเดียมอิตาย คำแปล: อย่ามาจับแขนได้รึป่าว มันจักกะจี้จะตาย link ที่ให้มาเป็น "ประมวลคำ ภาษาท้องถิ่นปักษ์ใต้ (นครศรีธรรมราช)" ลองอ่านดูน่ะครับ เผื่อเอาไว้จีบสาวใต้(แต่เดี๋ยวนี้สาวใต้ไม่ค่อยชอบพูดใต้กันแล้ว - -!) แถมอีกนิด คำเมือง เดียม-จั๊กกะจี้ (เหนือ-ใต้คล้ายกัน แต่ทำไมกลางถึงได้แวกไปหว่า - -^) (รบกวนเจ้าของภาษาตรวจสอบด้วยน่ะครับ ผมไปเอาของเค้ามาอีกที) ที่มา: http://202.29.138.91/asp_ben/news/news.asp ่สนุกน่ะครับได้รูศัพท์ใหม่ๆ สนุกกว่าศัพท์ภาษาอังกฤษอีก อิอิ ^^ - itga

ภาษาอีสาน: นำ

ครั้งที่แล้วพูดถึงการแปรเปลี่ยนของคำภาษาเก่า จากภาษาพูดธรรมดากลายเป็นภาษาเขียนบ้าง หรือกลายเป็นคำซ้อนบ้าง แต่คำว่า "นำ" นี้ ดูเหมือนความหมายจะตรงกันข้ามไปเลย "นำ" ในภาษาอีสาน แปลว่า "ตาม" หรือ "ด้วย" เช่น ถ้างัวหายก็ต้องไป "นำหา" ไม่ใช่ "ตามหา" (ยังพบในภาษากลางคือคำว่า "นำจับ" ผู้ร้าย?) ใครที่ "ย่างนำไป" จะหมายถึงเดินอยู่ข้างหลัง หรือถ้า "ย่างนำก้น" นี่ ก็หมายถึงเดินตามไปติดๆ และอีกความหมายคือ "ด้วย" เช่น "ไปนำกัน" หมายถึง "ไปด้วยกัน" หรือถ้าพูดว่า "ไปนำแหน่" คือ "ขอไปด้วยคน" ส่วนคำว่า "นำ" ในภาษากลางนั้น ภาษาอีสานใช้คำไหนผมไม่แน่ใจเหมือนกัน อาจจะใช้ "ย่างขึ้นหน้า" หมายถึง "เดินนำหน้า" อะไรทำนองนี้? (เพื่อนอีสานช่วยนึกหน่อย)

ภาษาใต้: เติน ...

วันขอเสนอคำว่า "เติน" บางที่จะออกเสียง "ตึน" คำนี้หมายถึงคำเรียกคนที่เราคุยด้วย มักจะใช้กับคนที่เราคุยด้วยที่เป็นผู้ใหญ่กว่า เช่น "เตินชื่อไหรอะ?" ออกเสียงว่า "เตินฉือไร่อะ?" แปลว่า "พี่/คุณชื่ออะไรครับ?" อีกตัวอย่าง "พี่หลวงเตินติ๊ไปไหนนั้น ?" ออกเสียงว่า "ผีล่วงเตินติ๊ไปไน้น้าน ?" แปลว่า "พี่ทิดพี่จะไปที่ไหนครับ ?" เติน : คุณ พี่ , You

ภาษาอีสาน: คำอีสานในภาษาไทยกลาง

อีสานขอร่วมแจมมั่งนะครับ ก่อนจะเริ่มแบบทีละคำ ผมมีบันทึกที่รวบรวมคำอีสานที่ปรากฏในภาษาไทยกลางไว้ นี่ทำบันทึกหายไปแล้ว เลยนั่งนึกใหม่ อาจมีตกหล่นไปบ้าง ภาษาท้องถิ่นนั้น ค่อนข้างจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อย เมื่อเทียบกับภาษาไทยกลาง ดังนั้น นักนิรุกติศาสตร์หลายท่านจึงอาศัยภาษาท้องถิ่นเป็นเบาะแสของประวัติของคำไทย บางคำเป็นคำเก่า หลงเหลืออยู่แต่ในภาษาเขียนของไทยกลาง แต่ยังใช้ในภาษาพูดปกติในท้องถิ่น บางคำกลายเป็นคำซ้อน ฯลฯ ลองมาดูตัวอย่างของคำอีสานบางคำดูก่อน: คำอีสาน ความหมาย คำที่ปรากฏในไทยกลาง ย่าง เดิน ก้าวย่าง ย่างเยื้อง ย่างเข้าสู่(ปีที่สิบ) แล่น วิ่ง โลดแล่น (รถ)แล่น เบิ่ง ดู เบิ่งตาดู คัก ถึงใจ คึกคัก เคียด โกรธ เคียดแค้น เคือง รำคาญ แค้นเคือง โกรธเคือง ระคายเคือง เว้า พูด เว้าวอน แจ้ง สว่าง กลางแจ้ง รู้แจ้ง มัก ชอบ มักง่าย เลือกที่รักมักที่ชัง ซัง (ชัง) เกลียด เกลียดชัง น่าชัง ลาง บาง(คน,สิ่ง) ลางเนื้อชอบลางยา เฮือน (เรือน) บ้าน บ้านเรือน เรือนไทย เติบ มาก, พ

ภาษาใต้: ต่อเช้า ...

ต่อเช้า: (น.) วันพรุ่งนี้ ต้วอย่าง: "ค่อยต่อเช้ามาเขียนบล๊อกหว่า" คำแปล: เอาไว้พรุ่งนี้มาเขียนบล๊อกดีกว่า - ขอพี่โชคมาแจมด้วย ไหนๆก็เป็นคนใต้คนหนึ่ง :/

ภาษาใต้: ฉาน ...

มีพี่ๆ แนะนำมาว่าน่าจะเอาคำใกล้ๆ ตัวมานำเสนอก่อน อืมม... ผมก็เห็นดีด้วย วันนี้เลยนำเสนอคำว่า "ฉาน" อ่านออกเสียงว่า "ช้าน" มาจากคำว่า "ฉัน" เป็นคำแทนตัวผู้พูดเองนะครับ ใช้ทั้งหญิงทั้งชาย ส่วนใหญ่แล้วแทนตัวผู้พูดที่เป็นผู้ใหญ่ พูดกับผู้ใหญ่ด้วยกัน ถ้าเด็กๆ นิยมแทนตัวเองว่า "นุ้ย" ออกเสียงว่า "หนุ่ย" ตัวอย่างเช่น "วันนี้ฉานไม่ค่อยบาย" ออกเสียง "วันหนี่ช้านหม้ายขอยบาย" แปลว่า "วันนี้ผมไม่ค่อยสบาย" อีกตัวอย่าง "ฉานชื่อโชค" ออกเสียง "ช้านฉือโฉก" แปลว่า "ผมชื่อโชค" ฉาน : ฉัน ผม ดิฉัน , I

ภาษาใต้: ต้นโน๊ด ...

เปิดโรงด้วยคำว่า "ต้นโน๊ด" หมายถึง "ต้นตาล" ครับ แถวบ้านผมจะมีหมู่บ้านชื่อว่า "ดอนโน๊ด" แถวนั้นจะมีต้นตาลขึ้นเยอะเป็นดงเลยครับ คนแถวนั้นมีอาชีพขึ้นต้นตาลทำน้ำตาลขาย เวลาออกเสียงคำหน้าต่ำๆ คำหลังสูงๆ นะครับ

เปิดตัว....

จริงๆ แล้วจะเปิดภาษาใต้วันละคำ แต่มองดูรอบตัวแล้วมีครบสี่ภาคเลยเตรียมการไว้ล่วงหน้า ตั้งชื่อเป็น Lang4Fun .... จะรอดไหม้นิ?